มารยาทในการฟัง

ความหมายของการฟัง

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ . ศ . ๒๕๒๕ ได้อธิบายความหมายของการฟังไว้ว่า การฟัง หมายถึง การตั้งใจสดับ คอยรับฟังด้วยหู ได้ยิน ขยายความได้ว่าการฟัง เริ่มจากการได้ยินเสียก่อน ขั้นที่๒ ติดตามเรื่องราวของสิ่งที่ได้ยินไปด้วยพอถึงขั้นที่ ๓ ต้องสามารถเข้าใจสิ่งที่ได้ยิน หรือตีความหมายของสิ่งที่ได้ยินได้ และขั้นสุดท้าย ต้องเกิดความคิดคล้อยตามหรือโต้แย้งสิ่งที่ได้ยินนั้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ประโยชน์ของการฟัง

๒.๑ช่วยให้มีความรู้และสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นผู้ทันโลกและทันเหตุการณ์ เพราะฟังมากย่อมรู้มาก ซึ่งเป็นคุณสมบัติของความเป็นนักปราชญ์หรือผู้เป็นพหูสูต
๒.๒ช่วยให้นำสิ่งที่ได้สดับฟังนั้น ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ เช่น ตัดสินปัญหาได้ หรือมีความคิดสร้างสรรค์
๒.๓ช่วยให้เกิดทักษะในการฟัง คือ สามารถจับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาความรู้ได้
๒.๔ช่วยให้มีวิจารณญาณในการฟัง คือสามารถพิจารณาไตร่ตรองได้ว่า สิ่งใดบ้างเป็นข้อเท็จจริง สิ่งใดบ้างผิด และสิ่งใดบ้างถูกต้อง

วัตถุประสงค์ของการฟัง

การฟังที่ดีผู้ฟังจะต้องตั้งจุดประสงค์ของการฟังไว้ในใจเสียก่อน ซึ่งผู้ฟังมักมีจุดประสงค์ใหญ่ ๓ ประการ คือ
๓.๑ฟังเพื่อให้เกิดความรู้และความรอบรู้ แยกออกได้ดังนี้
๓.๑.๑ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ การฟังชนิดนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับนักเรียน
๓.๑.๒ฟังเพื่อให้เกิดความรู้ เป็นการฟังที่ช่วยสร้างเสริมเพิ่มพูดความรู้ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เช่น ฟังข่าว เหตุบ้านการเมือง ฯ ล ฯ การฟังต้องสามารถจับประเด็นสำคัญของเรื่อง โดยอาศัยหลักการพินิจสารและรู้จักประเมินคุณค่าของสาร
๓.๒ ฟังเพื่อหาเหตุผลมาโต้แย้งหรือคล้อยตาม เป็นการฟังที่มีจุดมุ่งหมายให้ผู้ฟังมีวิจารณญาณในการฟังเป็นสำคัญ คือ เมื่อฟังอะไรแล้วต้องเป็นผู้รู้จักคิด รู้จักไตร่ตรองว่าสิ่งที่ตนได้ฟังมานั้นมีเหตุผลสมควรเชื่อถือหรือไม่ อันจะเป็นการฝึกให้เป็นคนสุขุมรอบคอบ ไม่เชื่อสิ่งใดอย่างงมงาย
๓.๓ ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน และซาบซึ้ง เป็นการฟังด้วยความนิยมชมชอบ ผู้ฟังจะได้รับทั้งความสนุกสนานและความเพลิดเพลิน การฟังอย่างนี้ถือเป็นการตอบสนองความต้องการทางอารมณ์ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด

ลักษณะของการเป็นผู้ฟังที่ดี

การฟังเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อชีวิตของบุคคลทั่วไป เราจึงควรทราบลักษณะของผู้ฟังที่ดี ซึ่งมีดังนี้
๑.มีสมาธิในการฟัง การมีสมาธิเป็นสิ่งจำเป็นมากในการฟัง ผู้ฟังต้องตัดความวิตกหรือความกังวลใจต่าง ๆ ออกจากจิตใจให้หมด ฉะนั้นทุกครั้งที่ฟังเรื่องใดก็ตาม ผู้ฟังต้องหมั่นฝึกความมีสมาธิให้แก่ตนเองพยายามพุ่งความสนใจไปในเรื่องที่ตนกำลังฟังนั้น
๒.ตั้งจุดมุ่งหมายในการฟัง ในการฟังแต่ละครั้งผู้ฟังควรตั้งจุดมุ่งหมายไว้ว่าจะฟังเพื่ออะไร เช่น ฟังเพื่อจับใจความสำคัญ ฟังเพื่อความเพลิดเพลิน เป็นต้น การฟังอย่างไร้จุดหมายย่อมเสียเวลาในการฟัง
๓.วิเคราะห์เจตนาของผู้พูด คือ ต้องรู้จักวิเคราะห์เจตนาของผู้พูด ว่า ผู้พูดมีความประสงค์อย่างไร มีสิ่งใดแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ในเรื่องที่พูดหรือไม่
๔.สนใจและจับประเด็นสำคัญเรื่องที่ฟังให้ได้ คือขณะฟังต้องรู้จักใช้สติปัญญาวิเคราะห์ดูว่า ผู้พูดกำลังพูดเรื่องอะไร ให้สาระ ประโยชน์อะไรบ้าง เรื่องที่ฟังนั้นมีประเด็นสำคัญอย่างไร แล้วพยายามสรุปความคิดรวบยอดให้ได้
๕.ต้องวางใจเป็นกลางไม่มีอคติใด ๆ ต่อผู้พูด การมีอคติและการจับผิดผู้พูดย่อมมีผลเสียมากกว่าได้ ควรหลีกเลี่ยงการจับผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การแต่งกาย การพูดซ้ำ ๆ ซาก ๆ ในบางคำ ฯลฯ เพราะจะทำให้ผู้ฟังเกิดรู้สึกว่าเรื่องที่กำลังฟังนั้นเป็นเรื่องที่น่าตำหนิ ควรสร้างเจตคติที่ดีต่อผู้พูดเสมอ การทำใจได้เช่นนี้ จะทำให้บรรยากาศการฟังเป็นไปอย่างราบรื่นและเข้าใจดี
๖.ฟังด้วยความอดทนและตั้งใจฟัง ต้องอดทนและตั้งใจฟังตั้งแต่ต้นจนจบ การฟังอย่างครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือฟังเพียงบางตอนย่อมทำให้ไม่สามารถเข้าใจเนื้อเรื่องได้สมบูรณ์
๗.ฟังอย่างสำรวม ให้เกียรติผู้พูด และมีมารยาทอันดีงาม นับเป็นคุณสมบัติของผู้ฟังที่ดี การรู้ว่าสิ่งใดควรไม่ควร เช่น การลุกเดินเข้าออก การทำเสียงเอะอะนับเป็นกิริยาที่ไม่เหมาะสม ถือว่าไม่ให้เกียรติ และเป็นการเสียมารยาทอย่างยิ่ง แสดงความคิดเห็นก็ควรทำภายหลัง
๘.ใช้ศิลปะในการฟัง ผู้ฟังที่ดีไม่ควรฟังอย่างเดียว ควรใช้ไหวพริบในบางโอกาส เพื่อช่วยให้ผู้พูดสามารถถ่ายทอดความรู้ ความคิดของตนไปสู่จุดหมายปลายทาง ตามที่ผู้ฟังต้องการโดยการใช้คำถามที่ได้ จากการเชื่อถือผู้ฟังต้องการ
๙.ขณะฟังควรบันทึกสิ่งสำคัญ หากสงสัย หากซัก ให้เหมาะสม
๑๐.หลักการฟัง ผู้ฟังบันทึกว่า เรื่องราวต่าง ๆ ที่ฟังไปนั้นตรงกับข้อจริง และมีเหตุผลน่าเชื่อถือเพียงใด มีสิ่งใดจะนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ได้หรือไม่ และรู้จักนำความรู้หรือข้อคิดต่าง ๆ ที่ได้จากการฟังไปใช้ประโยชน์ ตามโอกาสอันสมควร

มารยาทในการเป็นผู้ฟังที่ดี

ผู้ฟังที่ดีควรต้องระมัดระวังมารยาท ตั้งแต่เริ่มเข้าฟัง ขณะฟังไปจนกระทั่งเลิกฟัง คือ
๑.ควรแต่งกายสุภาพเรียบร้อย เช่น ไม่สวมเสื้อปล่อยชายรุ่มร่าม หรือสวมรองเท้าแตะฟองน้ำเข้าฟัง เป็นต้น
๒.ผู้ฟังที่ไปถึงก่อน ควรนั่งเก้าอี้ที่เขาจัดไว้แถวหน้า ๆ ผู้ที่มาทีหลังจากนั้นก็ควรนั่งถัดกันลงมาข้างหลังทีละแถวตามลำดับ เพื่อผู้มาช้าจะได้ไม่ต้องหลีกคนหลาย ๆ คนเข้าไปหาที่นั่ง ทำให้วุ่นวายขาดสมาธิในการฟังได้ ถ้าผู้พูดเริ่มพูดไปบ้างแล้ว และไม่มีเก้าอี้ให้นั่ง ก็ควรจะยืนฟังอย่างสงบ และมีระเบียบ ไม่บังคับผู้ที่นั่งอยู่ก่อน
๓.ควรไปถึงสถานที่ฟังก่อนผู้พูดเริ่มพูด ถ้าเข้าหลังผู้พูดเริ่มพูดแล้ว ต้องแสดงความเคารพผู้พูดก่อน และเข้าไปนั่งฟังอย่างสงบ หากจำเป็นต้องออกจากห้องประชุมที่นั่งฟังอยู่ก่อนที่จะพูดจบ ก็ต้องทำความเคารพผู้พูดก่อนด้วย
๔.ควรฟังด้วยความสนใจ ไม่ควรแสดงสีหน้าท่าทางให้ผู้พูดเห็นว่า ผู้ฟังเกิดความเบื่อหน่ายเพราะจะทำให้ผู้พูดเสียกำลังใจ ถ้าเกิดไม่อยากฟังจริง ๆ ก็ควรจะเลิกฟังและออกจากห้อง ประชุมไปเลย
๕.ควรให้เกียรติผู้พูดด้วยลักษณะต่าง ๆ ที่ทำได้ เช่นพูดดี ถูกใจผู้ฟังก็ควรปรบมือ หรือพูดชมเชยเมื่อมีโอกาส ขณะฟังอยู่ควรมองหน้าผู้พูดตลอดเวลาและไม่ควรคุยกัน ด้วยเรื่องส่วนตัวจนเป็นที่รำคาญแก่ผู้อื่นไม่ควรลุกเดินขวักไขว่ไปมาไม่ควรนั่งหลับสัปหงก ฯลฯ
๖ .ถ้าเกิดข้อสงสัยต้องการซักถาม ควรรักษามารยาทดังนี้
๖.๑ ควรยกมือขึ้น เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงค่อยถาม
๖.๒ ควรถามอย่างสุภาพเรียบร้อยทั้ง ถ้อยคำและอากัปกิริยา
๖.๓ คำถามควรกะทัดรัด ตรงประเด็น เกี่ยวกับเรื่องที่ฟัง
๖.๔ ถ้าจะคัดค้าน ควรคัดค้านอย่างนิ่มนวล และกล่าวขอโทษก่อน
๖.๕ เมื่อฟังพูดจบแล้ว ควรลุกขึ้นและออกไปมีระเบียบ พยายามทำให้เกิดเสียงน้อยที่สุด

Veradet.com
Logo
กระท้อนลอยแก้ว| ชุดชั้นกุลสตรี| ชุดชั้นในวาโก้
Shopping cart