กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า แต่งขึ้นโดย พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ) เป็นกวีคนสำคัญในสมัย พระบาทสมเด็ดพระมงกุฎเกล้า และ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยาอุปกิตศิลปสาร เป็นผู้เสนอให้ใช้คำทักทายกันว่า สวัสดี ซึ่งใช้กันจนกระทั่งทุกวันนี้
ประวัติของผู้แต่ง กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า
พระยาอุปกิตศิลปสาร มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาไทย ภาษาบาลี และวรรณคดีโบราณ นามแฝงของท่านที่รู้จักกันดีคือ อ.น.ก. อนึก คำชูชีพ อุนิกา สามเณรนิ่ม และนายนิ่ม ผลงานทางด้านภาษาและวรรณคดีไทยที่สำคัญได้แก่ สยามไวยากรณ์ เป็นตำราวัยากรณ์ไทย 4 เล่ม มีอัครวิธี วจีวิภาค วากยสัมพันธ์ และฉันทลักษณ์ สงครามภารคำกลอน ชุมนุมนิพนธ์ อ.น.ก. คำประพันธ์บางเรื่อง คำประพันธ์โคลงสลับกาพย์ บทกลอนและ ปาฐกถาต่างๆ เกี่ยวกับวรรณคดีละการใช้ภาษา
ที่มาของเรื่องกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า
เป็นงานประพันธ์ที่รวมอยู่ในหนังสือคำประพันธ์บางเรื่อง ซึ่งเป็นหนังสือรวมคำประพันธ์หลายชนิดของ พระยาอุปกิตศิลปสาร บทกลอนเรื่องนี้ มีที่มาจากกวีนิพนธ์เรื่อง Elegy Written in a Country Churchyard ของ ทอมัส เกรย์ (Thomas Gray) กวีชาวอังกฤษ ผู้มีชีวิตช่วงกลางศริสต์ศตวรรษที่ 18 กวีนิพนธ์บทนี้ เขียนขึ้นที่สุสานเก่าแก่ที่เมือง สโตกโปจส์ (Stoke Poges) ในมณฑลบังกิงแฮมเชอร์ (Buckinghamshire) เมื่อประมาณ พ.ศ. 2285 หลังจากมรณกรรมของญาติใกล้ชิด และเพื่อนรักของเกรย์ ในเวลาที่ไล่เลี่ยกัน กวีนิพนธ์ประเภท Elegy (บทร้อยกรองกำสรด) ของเกรย์ เป็นบทร้อยกรองที่มีเชื่อเสียงมากที่สุดเรื่องหนึ่งของอังกฤษ
พระยาอุปกิตศิลปสาร ประพันธ์กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า จากต้นฉบับแปลของ เสฐียรโกเศศ โดยแต่งเป็นกลอนดอกสร้อย จำนวน 33 บท เพิ่มจากบทประพันธ์ภาษาอังกฤษหนึ่งบท และมีนาคำประทีบ เ็นผู้เรียบเรียงในส่วนของกถามุข ซึ่งพระยาอุปกิตศิลปสารได้แต่งดัดแปลงให้เข้ากับธรรมเนียมไทย นับเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของการประพันธ์วรรณคดีในรัชกาลที่ 6-7 ที่มักจะนำบทวรรณคดีตะวันตกมาแปลและดัดแปลงให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและรสนิยมของคนไทย
เนื้อหาของกลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า
วังเอ๋ยวังเวง
หง่างเหง่งย่ำค่ำระฆังขาน
ฝูงวัวควายผ้ายลาทิวากา
ค่อยค่อยผ่านท้องทุ่งมุ่งถิ่นตน
ชาวนาเหนื่อยอ่อนต่างจรกับ
ตะวันลับอับแสงทุกแห่งหน
ทิ้งทุ่งให้มืดมัวทั่วมณฑล
และทิ้งตนตูเปลี่ยวอยู่เดียวเอย
ถอดคำประพันธ์
เมื่อเวลาใกล้ค่ำชาวนาก็พาฝูงวัวควาย กับบ้านพร้อมกับความเหนื่อยล้า ปล่อยให้ท้องทุ่งมีแต่ความว่างเปล่า
ยามเอ๋ยยามนี้
ปถพีมืดมัวทั่วสถาน
อากาศเย็นเยือกหนาวคราววิกาล
สงัดปานป่าใหญ่ไร้สำเนียง
มีก็แต่เสียงจังหรีดกระกรีดกริ่ง
เรไรหริ่งร้องขรมระงมเสียง
คอกควายวัวรัวเกราะเปาะแปะเพียง
รู้ว่าเสียงเกราะแว่วแผ่วแผ่วเอย
ถอดคำประพันธ์
เมื่อความมืดเข้ามาปกคุมไปทั่ว อากาศก็เริ่มเย็นลง มีแต่เสียงแมลงที่ส่งเสียงร้องไปทั่วสลับกับเสียงเกราะที่ห้อยวัว ควาย ภายในคอกดังเป็นระยะ
นกเอ๋ยนกแสก
จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ
อยู่บนยอดหอระฆังบังแสงจันทร์
มีเถาวัลย์รุงรังถึงหลังคา
เหมือนมันฟ้องดวงจันทร์ผันให้ดู
คนมาสู่ซ่องพักมันรักษา
ถือเป็นที่รโหฐานนมนานมา
ให้เสื่อมผาสุกสันต์ของมันเอย
ถอดคำประพันธ์
นกแสกส่งเสียงร้องอย่างน่ากลัว มันเกาะอยู่ยอดหอระฆัง นกแสกเหมือนเป็นผู้อารักขาสุสาน (ซ่องพัก = เชิงตะกอน ในที่นี้ หมายถึง ที่พักที่สุดท้ายในชีวิต) เป็นที่เฉพาะของคนตาย ที่ทำให้นกแสกมีความสุข
ต้นเอ๋ยต้นไทร
สูงใหญ่รากย้อยห้อยระย้า
และต้นโพธิ์พุ่มแจ้แผ่ฉายา
มีเนินหญ้าใต้ต้นเกลื่อนกล่นไป
ล้วนร่างคนในเขตประเทศนี้
ดุษณีนอนราย ณ ภายใต้
แห่งหลุมลึกลานสลดระทดใจ
เรายิ่งใกล้หลุมนั้นทุกวันเอย
ถอดคำประพันธ์
ต้นไทรที่มีรากย้อยห้อยลงมา ต้นโพธิ์ที่อยู่ใกล้กันนั้น ด้านล่างล้วนเป็นที่ฝังศพของผู้คนที่ตายไป ซึ่งเราเองก็ใกล้เข้าไปทุกวัน
สาระสำคัญของกลอนดอกสร้อย
ผู้ต้องการความวิเวกคนหนึ่ง ได้เข้าไปนั่งในที่สงบในวัดชนบท ในเวลาเย็นใกล้ค่ำ เมื่อได้ยินเสียงระฆังย่ำ บอกเวลาได้เห็นฝูงวัวควายและชาวนาพากันเดินกลับบ้าน เมื่อสิ้นแสงตะวันได้ยินเสียงจังหรีดเรไร เสียงเกราะในคอกสัตว์ นกแสกที่จับอยู่บนหอระฆังก็ส่งเสียงร้อง ณ บริเวณใต้ต้นโพธิ์ ต้นไทร มีหลุมฝังศพอยู่มากมาย ความเงียบสงบและความวิเวกก่อให้เกิดความรู้สึกลึกซึ้ง ท่านผู้นั้นจึงรำพึงรำพันออกมาเป้นบทกวีว่า ไม่ว่าผู้ใดก็ย่อมมีจุดจบ คือความตายเหมือนกัน