
คำเขมรที่ยืมมาใช้ในภาษาไทย มักเป็นคำเขมรโบราณในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ – ๑๖ คำเขมรเข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยทั้งในภาษาธรรมดาและคำในวรรณคดี เนื่องจากการรับวัฒนธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านทางเขมร และการอยู่ร่วมกันในลุ่มน้ำเจ้าพระยา มาแต่สมัยโบราณ คำเขมรจำนวนหนึ่งมีลักษณะเหมือนคำไทย คำไทยบางคำก็เขียนแบบคำเขมร ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๓ – ๒๔ เขมรกลับเป็นฝ่ายรับวัฒนธรรมจากไทย คำภาษาไทยจึงกลายเป็นคำยืมในภาษาเขมร
คำยืมภาษาเขมรอาจแบ่งได้เป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑. คำที่ใช้เป็นคำราชาศัพท์ เช่น กระยา ตรัส ถวาย ถวายบังคม ทรง ประชวร เสวย บรรทม เสด็จ สมเด็จ สนับเพลา
๒. คำที่ใช้ในวรรณคดี เช่น กรรบิด กันดาล กำสรด กำสรวล เจรียง ฉนำ ฉบัง ฉลู ดำรง ได เถกิง ไถง บังอวจ ไผท เมิล ผกา พนม ลออ
๓. คำที่ใช้ทั่วไป เช่น กรรไกร กระจก กระเชอ กระเทียม กระบือ กระเพาะ กำเดา กำเนิด กำลัง ขลัง ขลาด จมูก จังหวัด จังหัน จำเนียร จำนอง จำนำ จำเริญ ชะเอม ชำนาญ ชุมนุม เชลย เชิญ ดำริ เดิน ตะคริว ทราบ ทรุดโทรม บรรทุก บายศรี บำบัด ประกายพรึก เพลิง อวยพร
๔. คำทั่วไปที่นำมาใช้ซ้อนกับคำไทย เช่น กล้าหาญ ใกล้ชิด ร้ายกาจ โง่เขลา ด่าทอ ครบถ้วน ถนนหนทาง สนนราคา
๕. คำไทยที่เขมรยืมไปใช้ เช่น ย่าง ตื่น เกลอ เครื่อง แคร่ สองข้าง สามสิบ สี่สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน
คำไทยที่เขียนเลียนแบบคำเขมร เช่น ขวัญ ทูล