ความหมายของไตรยางค์ ไตรยางค์เกิดจากศัพท์ ตรีหรือไตรกับองค์ สามส่วนหรือสามระดับ เป็นการแบ่งพยัญชนะตามวิธีวรรณยุกต์ออกเป็น ๓ หมู่ ได้แก่
อักษรกลาง | อักษรสูง | อักษรคู่ | อักษรเดี่ยว | |
วรรค กะ | ก | ข ฃ | คฅ ฆ | ง |
วรรค จะ | จ | ฉ | ชซ ฌ | ญ |
วรรค ฏะ | ฎ ฏ | ฐ | ฑ ฒ | ณ |
วรรค ตะ | ด ต | ถ | ท ธ | น |
วรรค ปะ | บ ป | ผ ฝ | พฟ ภ | ม |
เศษวรรค | อ | ศ ษ ส ห | ฮ | ย ร ล ฬ ว |
สรุป การแบ่งพยัญชนะตามวิธีวรรณยุกต์ มีหลักในการท่องจำเพื่อมิให้สับสน ดังนี้
๑. อักษรกลางมี ๙ ตัว คือ ไก่จิกเด็กตายเฎ็กฏายบนปากโอ่ง
๒. อักษรสูงมี ๑๑ ตัว คือ ผีฝากถุงข้าวสารให้ฉัน (ถุง= ถ ฐ ข้าว = ข ฃ สาร = ศ ษ ส)
๓. อักษรต่ำมี ๒๔ ตัว แบ่งเป็น
- อักษรต่ำคู่ ๑๔ ตัวคือ พ่อค้าฟันทองซื้อช้างฮ่อ
- อักษณต่ำเดี่ยว ๑๐ ตัว คือ งูใหญ่นอนอยู่ ณ ริมวัดโมฬีโลก
๔. อักษรต่ำคู่หรืออักษรคู่ คืออักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูงดังนี้
อักษรต่ำคู่ | อักษรสูง |
ค ต ฆ ช ฌ ซ ฑ ฒ ท ธ พ ภ ฟ ฮ | ข ฃ ฉ ศ ษ ส ฐ ถ ผ ฝ ห |
ประโยชน์ของการจำแนกไตรยางค์
๑. สามารถเขียนหนังสือได้สะดวกและรวดเร็วขึ้นโดยไม่ต้องเขียนวรรณยุกต์กำกับทุกคำ
๒. สามารถเขียนและอ่านคำในภาษาไทยได้ถูกต้อง
๓. สามารถเขียนคำที่มาจากภาษาต่างประเทศได้ถูกต้องตามสำเนียงของคำไทย เช่น กวยจั๊บ เกี้ยมอี๋ เฉาก๊วย เป็นต้น