การประสมอักษร คือ การนำอักษร ๒ หรือ ๓ ชนิด มารวมกัน เป็นพยางค์ แต่ละพยางค์จะต้องมีส่วนประกอบตั้งแต่ ๓ ส่วนขึ้นไป เราแบ่งประเภทการประสมอักษรได้ดังนี้
๑. การประสม ๓ ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์
๒. การประสม ๔ ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด
๓. การประสมสี่ส่วนพิเศษ ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ ตัวการันต์
๔. การประสม ๕ ส่วน ประกอบด้วย พยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ ตัวสะกด ตัวการันต์
หมายเหตุ
คำที่ประสมกับสระเกิน อำ ไอ ใอ เอา ถือเป็นการประสม ๔ ส่วน เพราะสระแต่ละเสียงนั้น เมื่อแยกออกเหมือนมีเสียงพยัญชนะประสมอยู่ด้วย
ตัวอย่าง การประสมอักษร
คำ | พยัญชนะต้น | สระ | วรรณยุกต์ | ตัวสะกด | ตัวการันต์ | การประสมอักษร |
น้ำ ไพร ครุฑ ผาด เล่ห์ ไมล์ ทิพย์ รัตน์ | น พร คร ผ ล ม ท ร | อำ ไอ อุ อา เอ ไอ อิ อะ | รูปโท เสียงสามัญ เสียงตรี เสียงเอก รูปเอก เสียงโท สามัญ เสียงตรี เสียงตรี | – – ฑ ด – – พ ต |
ห ล ย น | ๓ ส่วน ๓ ส่วน ๔ ส่วน ๔ ส่วน ๔ ส่วนพิเศษ ๔ ส่วนพิเศษ ๕ ส่วน ๕ ส่วน |