สุนทรภู่ กวีสำคัญสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เกิดวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พศ 2329 ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง (บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบัน) บิดาเป็นชาวบ้านกล่ํา อําเภอแกลง จังหวัดระยอง
สุนทรภู่ วันสุนทรภู่ ประวัติ พระสุนทรโวหาร ผลงาน
วันสุนทรภู่
วันสุนทรภู่ กําหนดให้ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน ของทุกปี ซึ่งจะตรงกับวันเกิดของพระสุนทรโวหาร หรือ สุนทรภู่ บุคคลที่ได้รับยกย่องจากองค์การ UNESCO ว่าเป็นบุคคลสําคัญของโลกทางด้านวรรณกรรม เมื่อปีพ.ศ. 2529 โดยถือเป็นคนไทยคนที่ 5 และเป็นสามัญชนชาวไทยคนแรก ที่ได้รับเกียรตินี้ อีกทั้งยังได้รับการยกย่อง ว่าเป็นเชคสเปียร์ ของเมืองไทย
การศึกษา
ในวัยเด็ก สุนทรภู่ ศึกษาเล่าเรียนที่สํานักวัดชีปะขาว อยู่ริมคลองบางกอกน้อย ต่อมาได้รับพระราชทานนามจากรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดาราม
การรับราชการ
เริ่มแรก สุนทรภู่เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวาง กรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน ต่อมาจึงเข้ารับราชการในกรมพระอารักษ์ เมื่อปีพ.ศ. 2359 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยความสามารถในเชิงกวี จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้เลื่อนเป็นขุนสุนทรโวหาร และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นหลวงสุนทรโวหาร รับราชการอยู่ทั้งสิ้น 8 ปี หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้เสด็จสวรรคต เมื่อปีพ.ศ. 2367 จึงได้ออกบวช
การออกบวช
ออกบวชเมื่อปีพ.ศ. 2369 ขณะอายุ 41 ปี ระหว่างนั้นได้มีการย้ายไปอยู่วัดต่างๆหลายแห่ง เท่าที่พบระบุในงานเขียนของท่าน ได้แก่ วัดเลียบ วัดแจ้ง วัดโพธิ์ วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม ซึ่งเป็นสถานที่ๆได้ค้นพบวรรณกรรมเล่มสําคัญ นั่นก็คือพระอภัยมณี โดยพบว่า ได้ถูกเก็บซ่อนไว้ที่ใต้เพดานหลังคากุฏิของท่าน สุนทรภู่บวชอยู่เป็นเวลา 18 ปี ผลจากการเดินทางธุดงค์ไปที่ต่างๆ ในขณะที่บวช เป็นที่มาในการสร้างสรรค์ผลงานนิราศเรื่องต่างๆมากมาย งานเขียนชิ้นสุดท้าย พีสุนทรภู่ได้แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รําพันพิลาป โดยแต่งขณะจําพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ในปีพ.ศ. 2385
บั้นปลายของชีวิต
หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้นทรงพระยศเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนอิสเรสรังสรรค์ โปรดอุปถัมภ์ให้ไปอยู่พระราชวังเดิม ซึ่งพระองค์ประทับอยู่ในขณะนั้น เมื่อถึงปีพ.ศ. 2394 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอารักษ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร และได้แต่งนิราศอีกสองเรื่อง คือ นิราศพระประธม และนิราศเมืองเพชร จนกระทั่งในราวปีพ.ศ. 2397 สุนทรภู่ได้รับพระบรมราชโองการให้แต่งเสภาเรื่องพระราชพงศาวดาร ซึ่งถือเป็นผลงานชิ้นสุดท้าย ก่อนที่จะถึงแก่อนิจกรรม สุนทรภู่ ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปีพ.ศ. 2398 สิริรวมอายุได้ 69 ปี โดยผู้สืบสกุลของสุนทรภู่ ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า ภู่เรือหงส์
ผลงานของสุนทรภู่
ด้านผลงานของสุนทรภู่ งานประพันธ์ของสุนทรภู่ ที่มีการค้นพบในปัจจุบัน มีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น แต่ที่สูญหายไปมีอีกเป็นจํานวนมาก ที่ค้นพบในปัจจุบัน และเชื่อว่าเป็นงานประพันธ์ชิ้นแรกของสุนทรภู่ คือ นิทานคํากลอนเรื่องโคบุตร นอกเหนือจากนี้ ผลงานของ ผลงานของสุนทรภู่ ที่ค้นพบในปัจจุบันมี
-นิราศ นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา
นิราศสุพรรณ นิราศพระประธม นิราศเมืองเพชร และรําพันพิลาป
-นิทาน เรื่องโคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ สิงหไกรภพ
-บทละครเรื่อง อภัยนุราช
-สุภาษิต สวัสดีรักษา เพลงยาวถวายโอวาท สุภาษิต สอนหญิง
-บทเสภา ขุนช้าง ขุนแผน เสภาพระราชพงศาวดาร
การตีพิมพ์ผลงาน
ในปีพ.ศ. 2413 โรงพิมพ์ของหมอสมิท ได้ตีพิมพ์ผลงานของท่านสุนทรภู่เป็นครั้งแรก โดยตีพิมพ์เรื่องพระอภัยมณีหลังจากนั้นมีโรงพิมพ์อื่นอื่นที่นําผลงานของท่านสุนทรภู่มาตีพิมพ์ เพื่อจําหน่ายอีกหลายครั้ง ซึ่งผล ซึ่งผลงานของสุนทรภู่ในทุกทุกเรื่อง ได้ตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5
กาพย์กลอนไทย ธํารง ทรงคุณค่า จากศิลา จารึก บันทึกสมัย
สะท้อนรถ บทกลอน สะท้อนใจ สะท้อนความเป็นไทย ไปนิรันดร์
สะท้อนแก้ว แววกลอน สุนทรภู่ พระคุณครู ศักดิ์สิทธิ์ คิดสร้างสรรค์
ครูสร้างคํา แปดคํา ให้สําคัญ อภิวัน บูชา บิดากลอน
สองร้อยปี บรรจบ ครบถ้วนทั่ว ถึงรับตัวแต่ชื่อ ลือกระฉ่อน
ทรงศักดิ์ศรี กวีไทย ให้กําจร เป็นอาภรณ์ แก่แผ่นดิน ถิ่นไทยเอย
บทประพันธ์โดยเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์