คำไทยแท้ คืออะไร ลักษณะของคำไทยแท้

คำไทยแท้ คือ คำศัพท์ที่ใช้อยู่เดิมในภาษาไทย มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง ไม่เหมือนใคร แต่เนื่องจากประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ประเทศจีน ญีปุ่น อังกฤษ เขมร มลายู เป็นต้น ผ่านการติดต่อค้าขาย การศึกษา ศาสนา และอื่นๆ ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนกับภาษาไทย ดังนั้น เราต้องมีการจำแนกให้ได้ว่า คำไหนเป็นคำไทยแท้

การจำแนกคำไทยแท้คือ และหลักการสังเกต

หลักการสังเกต ที่ทำให้เราสามารถแยกแยะ วิเคราะห์ได้ว่า คำไทยแท้มีลักษณะอย่างไร มีหลักการสังเกตดังนี้

พยางค์เดียวโดดๆ

ไม่มีเสียงควบกล้ำ มีใช้อยู่ครบทั้ง ๗ ชนิด ตัวอย่าง เช่น
นาม เช่น พ่อ แม่ ดิน น้ำ บ้าน ช้าง เป็นต้น
สรรพนาม เช่น ท่าน เธอ เขา เจ้า มัน เป็นต้น
กริยา เช่น เล่น นอน ไป เที่ยว ดู เป็นต้น
วิเศษณ์ เช่น สวย ดี โง่ ขาว ใหญ่ เช้า เป็นต้น
บุพบท เช่น ใต้ ของ แก่ ชิด ข้าง เป็นต้น
สันธาน เช่น ก็ แม้ จึง หรือ แต่ เพราะ เป็นต้น
อุทาน เช่น ว้าย ! อุ๊ย ! เอ๊ะ ! ว้า ! โอย ! เป็นต้น

คำไทยแท้ที่เกิดจากการกร่อนเสียง แทรกเสียง และการเติมพยางค์หน้าคำมูล

ตัวอย่างเช่น
ก. การกร่อนเสียง เช่น
หมากพร้าว กร่อนเป็น มะพร้าว
ตาวัน กร่อนเสียง ตะวัน
สายดือ กร่อนเสียง สะดือ
ข. การแทรกเสียง คือการแทรกเสียง อะ เข้าตรงกลางคำ เช่น
นกจิบ เป็น นกกระจิบ
ลูกท้อน เป็น ลูกกระท้อน
ลูกดุม เป็น ลูกกระดุม
ผักถิน เป็น ผักกระถิน
ค. การเติมพยางค์หน้าคำมูล คือการเติมเสียงอะหน้าคำมูล มักจะเป็นคำที่ขึ้นต้นด้วย กะ กระ
ประ ปะ เช่น
โตกตาก เป็น กะโตกกะตาก
โดกเดก เป็น กระโดกกระเดก
ทำ เป็น กระทำ
หนึ่ง เป็น ประหนึ่ง

คำไทยแท้ส่วนใหญ่ตัวสะกดต้องตรงตามมาตรา

๑) แม่กก มาตราแม่กก ใช้ “ก” เป็นตัวสะกด เช่น รัก ฉาก จิก ปีก จุก ลูก โบก ตัก เด็ก เปียก ฯลฯ

๒) แม่กด มาตราแม่กด ใช้ “ด” เป็นตัวสะกด เช่น คด จุด เช็ด แปด อวด เบียด ปูด เลือด กวด ราด ฯลฯ

๓) แม่กบ มาตราแม่กบ ใช้ “บ” เป็นตัวสะกด เช่น จับ ชอบ ซูบ ดาบ เล็บ โอบ เสียบ เกือบ ลบ สิบ ฯลฯ

๔) แม่กง มาตราแม่กง ใช้ “ง” เป็นตัวสะกด เช่น ขัง วาง ปิ้ง ซึ่ง งง โยง เล็ง กรง ถุง ดอง ฯลฯ

๕) แม่กน มาตราแม่กน ใช้ “น” เป็นตัวสะกด เช่น คัน ขึ้น ฉุน แบน ล้วน จาน เส้น โล้น กิน ฯลฯ

๖) แม่กม มาตราแม่กม ใช้ “ม” เป็นตัวสะกด เช่น จาม อิ่ม ซ้อม เต็ม ท้วม ตุ่น เสียม แก้ม สาม ล้ม ฯลฯ

๗) แม่เกย มาตราแม่เกย ใช้ “ย” เป็นตัวสะกด เช่น ชาย ขาย เคย โกย คุ้ย คอย เย้ย รวย เมื่อย สาย ตาย ฯลฯ

๘) แม่เกอว มาตราแม่เกอว ใช้ “ว” เป็นตัวสะกด เช่น ข้าว คิ้ว เหว แก้ว เลี้ยว เปลว เร็ว หนาว นิ้ว สาว ฯลฯ

คำไทยแท้ไม่มีตัวการันต์ฉะนั้นคำเหล่านี้ไม่ใช่คำไทยแท้

เช่น สิทธิ์ องค์ นัยน์ นารายณ์ เป็นต้น
ยกเว้น ๔ คำนี้(แม้มีตัวการันต์ก็เป็นไทยแท้) ผีว์ บ่าห์ เยียร์ อาว์

คำไทยแท้สร้างคำโดยใช้วรรณยุกต์เพื่อทำให้เกิดความหมายแตกต่างกัน

เขียว เขี่ยว เขี้ยว
ผา ผ่า ผ้า
นา น่า น้า

คำไทยแท้ไม่นิยมใช้พยัญชนะบางตัวที่เขียนยาก คำไทยแท้ไม่นิยมใช้พยัญชนะบางตัว

ฆ ณ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ฌ ธ ภ ศ ษ ฬ และสระ ฤ ฤา ยกเว้นคำไทยแท้บางคำ ดังนี้เฆี่ยน ฆ่า ฆ้อง ระฆัง หญิง ศึก ใหญ่
ณ ธ เธอ ศอก อำเภอ

คำไทยแท้ไม่ใช้รูป “อัย” มักใช้ “ใ” กับ “ไ” มากกว่า

ฉะนั้น คำว่า ตรัย วัย นัย ภัย จึงไม่ใช่คำไทยแท้

คำไทยแท้มีลักษณะนามใช้ลักษณะนามเป็นนามที่บอกลักษณะของนามที่อยู่ข้างหน้า

ซึ่งในภาษาไทยจะใช้คำเหล่านี้แตกต่างจากภาษาอื่นชัดเจน เช่น
หนังสือ ๒ เล่ม พระภิกษุ ๕ รูป
พลู ๓ จีบ ดอกไม้ ๓ ดอก
แหวน ๑ วง ดินสอ ๒ แท่ง
ฟุตบอล ๓ ลูก ขนมจีบ ๕ จับ

 

Veradet.com
Logo
กระท้อนลอยแก้ว| ชุดชั้นกุลสตรี| ชุดชั้นในวาโก้
Shopping cart