คำซ้อน 4 จังหวะ ได้แก่คำซ้อนที่มีลักษณะดังนี้
๑. คำซ้อนที่มีคำซ้ำกัน ๒ คำ เช่น รุ่นพี่รุ่นน้อง พลอยฟ้าพลอยฝน ยกบ้ายกบอ คิดแล้วคิดอีก กินเศษกินเลย ผ่าเหล่า ผ่ากอ ทุกคืนทุกวัน กี่โมงกี่ยาม เปลืองเนื้อเปลืองตัว ลูกเสือลูกตะเข้ ปากเหยี่ยวปากกา ไปไหนมาไหน ฯลฯ
๒. คำซ้อนที่มีเสียงสัมผัสระหว่างคำที่เป็นองศ์ประกอบในจังหวะที่ ๒ กับจังหวะที่ ๓ เช่น กรวดหินดินทราย เสือสิงห์กระทิงแรด ชั่วนาตาปี ตีอกยกหัว ยิงนกตกปลา ถ้วยชามรามไห เก็บหอมออมริบ ช่วยเหลือเจือจุ่น น้ำใสใจจริง หัวคว่ำคะมำหงาย ฯลฯ
คนไทยใช้คำซ้อน ๔ จังหวะมากในการสนทนาและใช้ในงานเขียนที่ไม่เป็นทางการ ส่วนงานเขียนที่เป็นทางการ เช่น หนังสือราชการ รายงานการประชุม รายงานทางวิชาการ ตำรา เรียงความที่เป็นทางการ ประกาศ กฎ ระเบียบ ฯลฯ ไม่ใช้คำซ้อน ๔ จังหวะ ภาษาที่ใช้คำซ้อน ๔ จังหวะ จึงมักเป็นภาษาที่ไม่เป็นทางการ
ตัวอย่าง คำซ้อน 4 จังหวะ
อย่าไปเชื่อพวกปากหอยปากปูพวกนั้นเลย (ไม่เป็นทางการ)
ไม่ควรเชื่อคนที่พูดโดยไม่คิด (เป็นทางการ)
กี่โมงกี่ยามแล้ว ทำไม่รู้จักหลับจักนอน (ไม่เป็นทางกา)
ดึกดื่น เหตุใดจึงไม่เข้านอน (กึ่งทางการ)
เรื่องนี้ตกลงกันได้ อย่าให้ถึงโรงถึงศาลกันเลย (ไม่เป็นทางการ)
เรื่องนี้พอเจรากันได้ อย่าให้เป็นคดีความกันเลย (ทางการ)
รู้จักเก็บหอมออมริบไว้บ้าง ฉุกเฉินขึ้นมาจะได้มีได้ (ไม่เป็นทางการ)
ควรเก็บหอมออมไว้บ้าง ยามฉุกเฉินจะได้มีใช้ (ทางการ)
ถ้วยชามรามไหวางกองไว้เต็ม ยังไม่ได้เก็บไปไว้ (ไม่เป็นทางการ)
ถ้วยชามจำนวนมากยังไม่ได้ล้างและเก็บให้เรียบร้อย (ทางการ)