คำกริยา อกรรมกริยา วิกตรรถกริยา

คำกริยา  คือ  คำที่ทำหน้าที่เป็นส่วนหลักของกริยาวลีซึ่งเป็นหัวใจของประโยค  คำกริยามี  ๒  ประเภท  คือ  ประเภทที่มีหน่วยกรรมกับประเภทที่ไม่มีหน่วยกรรม  คำกริยาประเภทที่มีหน่วยกรรม  ได้แก่  คำกริยาสกรรม และคำกริยาทวิกรรม  ส่วนคำกริยาประเภทที่ไม่มีหน่วยกรรม  ได้แก่  คำกริยาอกรรม  คำกริยาคุณศัพท์  คำกริยาต้องเติมเต็ม  คำกริยานำ และคำกริยาตาม

ตัวอย่าง คำกริยา

คำกริยาที่มีหน่วยกรรม

a. คำกริยาสกรรม  คือคำกริยาที่มีนามวลีตามหลัง  นามวลีนั้นทำหน้าที่เป็นหน่วยกรรม  เช่น  กิน  ฟัง  อ่าน เกี่ยว  ในตัวอย่างดังนี้

-ฉันกินขนม

-พ่อฟังข่าว

-น้องอ่านหนังสือ

-ชาวนาเกี่ยวข้าว

นามวลี  ขนม  ข่าว  หนังสือ  ข้าว  ทำหน้าที่เป็นหน่วยกรรมของคำกริยาสกรรม  กิน  ฟัง  อ่าน  เกี่ยว  ตามลำดับ

b.คำกริยาทวิกรรม  คือคำกริยาที่มีนามวลี  ๒  นามวลีตามหลัง  นามวลีแรกทำหน้าที่กรรมตรง  ส่วนนามวลีที่  ๒  ทำหน้าที่กรรมรอง  เช่น  สอน  ป้อน  ให้  แจก  อบรม  ในตัวอย่างต่อไปนี้

-เขาสอนภาษาไทยเด็ก ๆ

-พี่ป้อนข้าวน้อง

-แม่ให้เงินลูก

-ผบ.ตร.แจกรางวัลตำรวจดีเด่น

-อาจารย์ใหญ่อบรมมารยาทนักเรียน

นามวลีแรกคือ  ภาษาไทย  ข้าว  เงิน  รางวัล  มารยาท  ทำหน้าที่เป็นกรรมตรงของคำกริยา  สอน  ป้อน  ให้  แจก  อบรม  ตามลำดับ  ส่วนนามวลีที่  ๒  คือ  เด็กๆ  น้อง ลูก  ตำรวจดีเด่น  นักเรียน  ทำหน้าที่เป็นกรรมรอง

คำกริยาที่ไม่มีหน่วยกรรม

a. คำกริยาอกรรม  คือคำกริยาที่ไม่ต้องมีนามวลีทำหน้าที่เป็นหน่วยกรรม  หน่วยเติมเต็ม  หรือหน่วยเสริมความตามหลัง  เช่น  หัวเราะ  ตก  ขึ้น  ตาย  ยืน  เดิน  เสียใจ  ดีใจ  วิตก  กังวล เซ็ง  สนุก  หัวแตก  ปวดท้อง  เช่น

-เด็กหัวเราะ               เพื่อน ๆ ดีใจ

-ฝนตก         นายกรัฐมนตรีวิตก

-พระอาทิตย์ขึ้น  นาฬิกาตาย  วัยรุ่นเซ็ง

-ตำรวจยืน   พ่อเดิน   เราเสียใจ               พี่สาวแวดท้อง

b.คำกริยาคุณศัพท์  คือคำกริยาที่ไม่ต้องมีนามวลีทำหน้าที่เป็นหน่วยกรรม  หน่วยเติมเต็ม  หรือหน่วยเสริมความ  ตามหลัง  และเป็นคำกริยาที่แสดงคุณสมบัติหรือสภาพของคำนามหรือคำบุรุษสรรพนาม  เช่น  ดี  สวย  ว่องไว  สูง  เช่น

-เด็กคนนี้ดี                 บ้านแถวนี้สวยทุกหลังเลย

-นักกีฬาเหล่านี้ว่องไว

-เขาสูงขึ้นมากทีเดียว

c. คำกริยาต้องเติมเต็ม  คือ  คำกริยาที่ต้องมีนามวลีทำหน้าที่เป็นหน่วยกรรมเติมเต็มตามหลังเสมอ  ได้แก่  เป็น  เหมือน  คล้าย  เท่า  ใช่  มี  เกิด  ปรากฏ  ใน  เช่น

-เขาเป็นครูอยู่ชายแดนมาสิบปี

-เขาเหมือนพ่อมาก

-สุมนหน้าตาคล้ายแม่

-ขันใบนี้ขนาดเท่าใบนั้น

-เด็กคนนั้นใช่สมศักดิ์แน่นะ

นามวลี  ครู  พ่อ  แม่  ใบนั้น  สมศักดิ์  บ้าน  ภาวะฝนแล้ง  เงาราง ๆ  ที่ตามหลังคำกริยา  เป็น  เหมือน  คล้าย  เท่า  ใช่  มี  เกิด  ปรากฏ  ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นหน่วยกรรมหรือหน่วยเสริมความบอกสถานที่  แต่ทำหน้าที่เป็นหน่วยเติมเต็มของคำกริยาที่มาข้างหน้า

d. คำกริยานำ  คือ  คือคำกริยาที่ต้องปรากฏหน้าคำกริยาอื่นเสมอ  เช่น  ชอบ  พลอย  พยายาม  อยาก  ฝืน  หัด  ตั้งใจ  ห้าม  ช่วย  กรุณา  วาน  เช่น

-เขาชอบเป็นหวัด

-คนไข้ฝืนกินยาจนหมด

-วันนี้เด็กพลอยเปียกฝนไปด้วย

-เราพยายามเตือนเขาแล้ว

-ตอนนี้เขาอยากพักผ่อนมาก

-นักเรียนตั้งใจฟังครู

e. คำกริยาตาม  คือ  คำกริยาที่ปรากฏหลังคำกริยาอื่นอยู่เสมอ  เช่น  ไป  มา  ขึ้น  ลง  เข้า  ออก  บางคำก็มีรูปเหมือนกริยาสกรรม  เช่น  ไหว้  ไว้  เสีย  เอา  เช่น

-เขาส่งพัสดุไปแล้ว

-พวกเรากลับจากเที่ยวกันมา

-ลูกโป่งค่อย ๆ ลอยขึ้น

-น้ำลดลงมากแล้ว

-พยายามเข้าอย่าได้ย่อท้อ

-เขาเก่งออก

-เขาหยิบยื่นไมตรีให้ก่อน

Veradet.com
Logo
Shopping cart