จารีต 12 คืออะไร?

จารีต 12 (ฮีต 12 คลอง 14) หมายถึง แนวปฏิบัติสำหรับดำเนินชีวิตของพุทธศาสนิกชนในรอบปีว่าในปีหนึ่งเรามีงานอะไรบ้างในแต่ละเดือน

ฮีตที่ 1 บุญข้าวกรรม ( บุญเดือนอ้าย )

บุญเข้ากรรม  คือบุญที่ทำขึ้นในเดือนอ้าย  ซึ่งเป็นเดือนแรกที่ชาวอีสานจะต้องประกอบพิธีกันจนเป็นประเพณี  ซึ่งอาจจะเป็นข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ได้  พิธีบุญนี้ จะเกี่ยวกับพระโดยตรง  เพราะเป็นกิจกรรมที่ต้องการทำเพื่อให้พระที่อาบัติ  เป็นการชำระจิตใจให้หายจากมัวหมอง  สำหรับชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับบุญเข้ากรรม  จะมีการทำบุญตักบาตร  และฟังเทศน์  เป็นต้น

 ฮีตที่ 2 บุญคูณลาน (บุญเดือนยี่ )

          บุญคูณลาน  เป็นบุญที่ทำขึ้นเพื่อทำขวัญข้าว  ทำให้เกิดศิริมงคลแก่ชาวบ้านและเป็นการบูชาขอบคุณ  สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย  ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้าว  ไม่ว่าจะเป็นผีตาแฮก  หรือแม่โพสพ  เป็นต้น  ที่ประทานข้าวมาอย่างอุดมสมบูรณ์

พิธีกรรมจะใช้สถานที่บริเวณในวัด  โดยมีการหาบข้าวเปลือกไปรวมกันที่ลานข้าว  มากน้อยแล้วแต่ศรัทธา  เมื่อทำพิธีเสร็จข้าวที่ได้  จะนำไปจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้ของวัด

ฮีตที่ 3 บุญข้าวจี่  ( บุญเดือน สาม )

          ข้าวจี่  คือข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว นำมาปั้นเป็นก้อยกลมโตพอประมาณเท่าผลมะตูมขนาดกลาง ปั้นให้แน่นแล้วทาเกลือให้ทั่วเสียบไม้ย่างไฟ  ด้วยถ่านไฟ  พลิกกลับไปกลับมาให้เหลืองสุกพอดีจนทั่ว  จึงเอาออกมาทาไข่  ซึ่ไข่ที่ทานั้นจะต้องตีให้ไข่ขาวและไข่แดงเข้ากันดีแล้ว  ทาจนทั่วปั้นข้าว  เอาไปย่างไฟให้สุกอีกทีหนึ่ง  ส่วนมากจะนิยมเอาน้ำอ้อยใส่ตรงกลาง  แล้วจึงนำไปถวายพระ  ชาวบ้านจะทำข้าวจี่ตั้งแต่เช้ามืดเพื่อให้ทันพระสงฆ์ฉันเช้า  เหตุที่ทำให้เกิดการจี่ข้าวจี่ในเดือนสาม  เนื่องจากอากาศหนาวเย็น  เหมาะที่จะผิงไฟ  อีกทั้งข้าวใหม่ในช่วงนี้จะมีความหอม  เป็นการดัดแปลงอาหารการกิน  จึงเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านอย่างหนึ่ง

ฮีตที่ 4 บุญเผวส  (บุญเดือน 4 )

บุญเผวส  คือบุญที่ทำเกี่ยวกับเรื่องราวของพระเวสสันดร ก่อนจัดงานชาวบ้านและวัดจะมีการปรึกษาหารือกันตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน  ก่อนมีบุญนี้ขึ้นชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่วัดเพื่อจัดเตรียมสถานที่และจัดเครื่องใช้ที่จำเป็นในงานบุญ  บุญเผวสเป็นบุญที่เกี่ยวกับศาสนาพุทธโดยตรง  มีการนิมนต์พระจำนวนมาก จำนวนพระจะต้องให้ครบกับจำนวนกัณฑ์เทศน์

ฮีตที่ 5 บุญสงกรานต์ ( บุญเดือน 5 )

             วันสงกรานต์  วันที่ 13  เมษายน  ของทุกปี  ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่  ของไทย  มีกิจกรรมที่เกิดขึ้นคือ  การสรงน้ำพระพุทธรูป  พระสงฆ์  และดำหัวคนเฒ่าคนแก่  เพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข  เป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว  บุญสงกรานต์จะจัดให้มีขึ้น  3  วัน คือระหว่างวันที่  13 – 15  เมษายน  ลูกหลานที่อยู่ใกล้บ้านก็จะกลับมาเยี่ยมบ้านร่วมกันทำบุญตักบาตรในวันสงกรานต์  และบ่ายก็จะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป ซึ่งแต่ละครัวเรือนจะจัดหาน้ำอบ  น้ำหอม  ดอกไม้ธูปเทียน  โดยใช้ช่อดอกไม้  จุ่มน้ำอบน้ำหอม  สลัดใส่องค์พระพุทธรูป  จากนั้นก็จะนำน้ำที่ได้จากการสรงพระพุทธรูป  ไปปะพรมบนศีรษะของตนและลูกหลาน  ด้วยความเชื่อที่ว่าจะอยู่เย็นเป็นสุข  เป็นมงคลในชีวิต

ฮีตที่ 6 บุญบ้องไฟ  ( บุญเดือน หก )

บุญบ้องไฟ  เป็นบุญที่ชาวบ้านให้ความสำคัญมาก  ตามความเชื่อที่ว่า ต้องยึดถือปฏิบัติกันทุกปีเพื่อเป็นการบูชาพญาแถน          ซึ่งเป็นผู้นำความอุดมสมบูรณ์ของข้าวปลาอาหาร  มาสู่ชาวนา      ชาวบ้านจะมีการจัดงานบุญบ้องไฟอย่างครึกครื้นและสนุกสนาน เป็นงานที่หมู่บ้านให้ความสำคัญที่สุด  เท่า ๆ กันกับบุญข้าวสาก  การจัดงานจะมี  2  วัน  วันแรกของงานจะเรียกว่า  “วันโฮม “  วันนี้จะมีการนำบั้งไฟมารวมกันที่วัด  บั้งไฟจะมีการประดับ  ตกแต่งสวยงาม  ลำตัวและหัวจะเป็นรูปพญาครุฑ  จะมีการประกวดความสวยงามของบั้งไฟ  ที่เรียกว่า  รางวัล “เอ้งาม”  วันที่  2  จะเป็นวันที่นำบั้งไฟขึ้น  เพื่อแข่งขันกันตามกติกา  หมู่บ้านใกล้เคียง  ก็ให้ความสนใจ  ที่มาเที่ยวงานบุญบั้งไฟ

ฮีตที่ 7 บุญบ้าน (บุญเดือน เจ็ด)

             การทำบุญบ้านส่วนมากจะประกอบพิธีกรรมกันกลางบ้าน  จะมีการนิมนต์พระสงฆ์  มาทำบุญตักบาตร  ฉันเช้า  มีการปะพรมน้ำมนต์  เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้ที่มีมาทำบุญบ้าน  คนเฒ่า  คนแก่จะเตรียมมาผูกแขนลูกหลาน  เตรียมกรวดทราย  หินลูกรัง  และจะนำไปหว่านเพื่อไม่ให้สิ่งจัญไรเข้ามาในบ้านเรือน

ฮีตที่ 8 บุญเข้าพรรษา ( บุญเดือน แปด)

             เป็นงานบุญที่ทำกันในวันขึ้น 15  ค่ำเดือน แปด  เป็นช่วงที่พระภิกษุสงฆ์จะเข้าพรรษา  ไม่เดินทางสัญจรไปค้างคืนที่ไหน  ชาวบ้านจะนำดอกไม้  ธูปเทียน น้ำใส่ขันไปเคารพผู้ที่ตนเองนับถือเพื่อเข้าของรักษาหรือ “พ่อธรรม”  เพื่อให้ท่านผูกข้อมือประพรมน้ำมนต์บอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้ลูกหลานอยู่เย็นเป็นสุข  ที่วัดจะมีการทำบุญตักบาตร  ถวายผ้าอาบน้ำฝน  เครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับพระสงฆ์

ฮีตที่ 10 บุญข้าวสาก  (บุญเดือนสิบ)

             บุญข้าวสากเป็นบุญที่ทำเพื่อุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว  ชาวบ้านให้ความสำคัญมาก  ด้วยความเชื่อมั่นที่ว่า  ญาติพี่น้องผู้ล่วงลับจะมีความหิว  กำลังรอส่วนบุญจากงานนี้  ถ้าหากไม่ทำให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว  ก็จะไม่ได้กิน  ในการทำบุญนี้จะมีการภาวนาหรือเรียกเอ่ยชื่อ  ผู้ล่วงลับเพื่อให้มารับส่วนบุญ  หรือข้าวปลาอาหารที่ได้เตรียมไป  พิธีกรรมจะทำกันที่วัด  ชาวบ้านจะเตรียมอาหารคาวหวาน  แล้วแต่กำลังศรัทธาเพื่อถวายอาหารแด่พระสงฆ์และกรวดน้ำอุทิศแก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

ฮีตที่ 11 บุญออกพรรษา ( บุญเดือน สิบเอ็ด)

             ในวันขึ้น 15  ค่ำเดือนสิบเอ็ด  ชาวบ้านจะรู้กันว่าเป็นวันออกพรรษา  ชาวบ้านจะมีการนำข้าวปลาอาหารร่วมตักบาตรกันที่วัด  มีการรับศีล  สวดมนต์  ทำวัตรเช้า  ฟังเทศน์  มีการร่วมบริจาคตามกำลังศรัทธาเพื่อเป็นรายได้ของวัด  ตอนกลางคืนมีการละเล่นที่สนุกสนาน ( งัน ) มีการจุดประทัดดังสนั่นหวั่นไหว

ฮีตที่ 12 บุญกฐิน (บุญเดือน สิบสอง)

             การทำบุญกฐิน  ชาวบ้านผู้ที่จะทำบุญนี้จะต้องมีการตกลงกับทางวัดให้เรียบร้อยก่อน ที่จะมีการจัดงานบุญ  และจะต้องมีการเตรียมองค์กฐินที่จำเป็น  เครื่องอัฐบริขารหรือบริขารอื่น ๆ และเครื่องไทยทานสำหรับถวายพระ  มีการบอกบุญญาติสนิทมิตรสหายให้มาช่วยงาน ในงานจะมีการคบงันด้วยมหรสพต่าง ๆ แล้วแต่เจ้าภาพจะจัด  การทอดกฐินมักจะมีการแห่แหนกันครึกครื้นสนุกสนาน  การเคลื่อนขบวน  กะเวลาให้ถึงวัดทันเลี้ยงเพลพระ  เสร็จจากเลี้ยงเพลจะได้ทำการทอดกฐิน

Veradet.com
Logo
กระท้อนลอยแก้ว| ชุดชั้นกุลสตรี| ชุดชั้นในวาโก้
Shopping cart