คำนาม คือ คำที่ใช้แทนที่ คน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ อาการ ลักษณะ ทั้งที่เป็นสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม เช่น คน ปลา ตะกร้า ไก่ ประเทศไทย จังหวัดพิจิตร การออกกำลังกาย การศึกษา ความดี ซึ่งคำนามนั้น จะมีทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่
คำนาม มีกี่ชนิด
สามานยนาม (คำนามทั่วไป)
ใช้เรียกคำนามทั่วไป แบบไม่เฉพาะเจาะจง เช่น คำว่า คน รถ หนังสือ ดอกไม้ กล้วย ปลา ผีเสื้อ เป็นสามายามหมดเลยเพราะไม่ได้ชี้เฉพาะเจาะจง
วิสามานยนาม (นามเฉพาะ)
คำนามชี้เฉพาะเจาะจง คน สัตว์ หรือสถานที่ เป็นคำเรียกเจาะจงลงไปว่า เป็นใคร หรืออะไร เช่น คนนั้น รถคันนั้น มหาวิทยาลัยเกษตรบางเขน
ลักษณะนาม (นามบอกลักษณะ)
คำนามที่ใช้เรียกคำบอกลักษณะหรือจำนวน เช่น ความผิด 2 กระทง กุญแจมือ 1 คู่ ปากกา 1 ด้าม ขนมจีน 2 จับ
สมุหนาม (นามรวมหมู่)
คือคำบอกหมวดหมู่ เช่น ฝูงผึ้ง กองทหาร คณะรัฐมนตรี แปลงฝัก
อาการนาม (นามบอกอาการ)
ใช้เพื่อเปลี่ยนคำกริยา หรือ คำวิเศษณ์ให้เป็นคำนาม จะมีคำหลักๆ อยู่ 2 คำคือ การ กับ ความ เช่น การเดิน การนอน ความสวย ความเชื่อ ความศรัทธา
หน้าที่ของคำนาม
- ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค เช่น ฉัน ชอบอ่านหนังสือ ,ตำรวจ จับผู้ร้าย
- ทำหน้าที่เป็นกรรมหรือผู้ถูกกระทำ เช่น ฉันชอบอ่าน หนังสือ ,ตำรวจจับ ผู้ร้าย
- ทำหน้าที่ขยายนาม เพื่อให้นามที่ถูกขยายชัดเจนขึ้น เช่น แม่เป็นข้าราชการ ครู , พ่อปลูกแอปเปิ้ล ผลไม้เมืองหนาว
- ทำหน้าที่เป็นส่วนสมบูรณ์หรือส่วนเติมเต็ม เช่น พี่เป็น ทหาร , เขาเป็น ตำรวจ , แต่น้องสาวเป็น พยาบาล
- ทำหน้าที่ขยายกริยาให้มีเนื้อความบอกสถานที่ชัดเจนขึ้น เช่น คุณแม่ไป ตลาด , นักเรียนไป โรงเรียน
- ใช้บอกเวลาโดยขยายคำกริยาหรือคำนามอื่น เช่น คุณพ่อจะไปเชียงใหม่ วันเสาร์ , เขาชอบนอนตอน กลางวัน
- ใช้เป็นคำเรียกขานได้ เช่น น้ำฝน ช่วยหยิบปากกาให้ครูทีสิ , ตำรวจ ช่วยฉันด้วย