
คำอุทาน คือ คำที่แสดงอารมณ์ของผู้พูดในขณะที่ตกใจ ดีใจ เสียใจ ประหลาดใจ หรืออาจจะเป็นคำที่ใช้เสริมคำพูด โดยทั่วไป มักใช้เครื่องหมาย อัศเจรีย์ ! ต่อท้ายคำอุทาน เช่น อุ๊ย! เอ๊ะ! ว๊าย! โธ่!
คำอุทาน แบ่งเป็น 2 ชนิด
- คำอุทานบอกอาการ คือคำอุทานที่แสดงอารมณ์ และความรู้สึกของผู้พูด เวลาเขียนมักนิยมใช้เครื่องหมาย ! กำกับไว้หลังคำนั้น เช่น ถ้าเราตกใจ มักใช้คำอุทานว่า อุ้ย! ว้าย! แหม! ตายจริง เมื่อเราเกิดอาการประหลาดใจ มักใช้คำว่า เอ๊ะ! หือ! หา! เมื่อเราเกิดการรับรู้ เข้าใจ มักใช้คำว่า เออ! อ้อ! อ๋อ! หากมีความรู้สึกเจ็บปวด มักใช้คำว่า โอ๊ย! โอย! อุ๊ย! ความรู้สึกสงสารเห็นใจ มักใช้คำว่า โธ่! โถ! พุทโธ่! อนิจจา! เมื่อเราร้องเรียกมักใช้คำว่า เฮ้ย! เฮ้! นี่! รู้สึกโล่งใจ มักใช้ เฮ่อ! เฮ้อ! เมื่อเรามีความรู้สึกโกรธเคือง มักใช้คำว่า ชิชะ! แหม!
- คำอุทานเสริมบท คือ คำที่ใช้เป็นคำสร้อยหรือคำเสริมบทต่างๆ คำอุทานประเภทนี้ บางคำเสริมคำที่ไม่มีความหมายเพื่อยืดเสียงให้ยาวออกไป บางคำก็เพื่อเน้นเพิ่มความกระชับหนักแน่น แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
– คำที่กล่าวเสริมขึ้นเพื่อให้คล้องจอง หรือมีความหมายใจการพูดดีขึ้น เช่น หนังสือหนังหา ส้มสุกลูกไม้ กางกุ้งกางเกง เป็นต้น
– คำที่แทรกลงในระหว่างคำประพันธ์ เพื่อให้เกิดความสละสลวย และให้มีคำครบถ้วนตามความต้องการในคำประพันธ์นั้นๆ คำอุทานชนิดนี้ ใช้เฉพาะในคำประพันธ์ ไม่นำมาใช้ในการพูดสนทนา เช่น อ้า โอ้ โอ้ว่า แล นา ฤา แฮ เอย เฮย
หน้าที่ของคำอุทาน
- ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด เช่น ตายจริง! ฉันลืมเอากระเป๋าสตางค์มา โธ! เธอคงหนาวมากละซิ เอ๊ะ! ใครกันที่นำดอกไม้มาวางที่เต๊ะของฉัน
- ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ ซึ่งได้แก่ คำอุทานเสริมบท เช่น ทำเสร็จเสียที จะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป เมื่อไรเธอจะหาการหางานทำเสียที หนูเดินระวังๆ หน่อยนะ เดี๋ยวแข้งขาหักจะลำบาก
- ทำหน้าที่ประกอบข้อความในคำประพันธ์ เช่น แมวเอ๋ยแมวเหมียว มดเอ๋ยมดแดง กอเอ๋ยกอไก่