การเขียนนิทานสำหรับเด็ก

 

นิทานเป็นอาหารใจของเด็ก  เป็นความผาสุกอันยอดเยี่ยม  เด็กทุกคนเมื่อได้ยินคำว่านิทาน  จะเกิดความกระหายใคร่ฟังทันที  นิทานช่วยลดความเคร่งเครียดที่มีในบทเรียน  ลดความหิวโหย  ความอ่อนเพลีย  เด็กจะยอมทิ้งความซุกชนต่าง ๆ  เพื่อฟังนิทาน  หรืออ่านนิทาน  ซึ่งจะทำให้เกิดความสุขความสนใจอิ่มเอมและเต็มไปด้วยความคิดฝัน

ลักษณะนิทานที่ดีสำหรับเด็ก  มีดังนี้

๑.    ควรเป็นนิทานสั้น ๆ  มีเนื้อเรื่องไม่สลับซับซ้อน  มีตัวละครไม่มาก

๒.  เนื้อหาของนิทานควรส่งเสริมให้เด็กมีลักษณะนิสัยที่ดีงาม  เช่น  สุภาพ  ขยัน

ประหยัดซื่อสัตย์  อดทน  เสียสละ  และรู้จักเห็นใจผู้อื่น

๓.  ไม่ควรสอนโดยตรง  ควรสอดแทนคุณธรรมที่พึงประสงค์ลงไปในเรื่องโดยไม่ให้เด็ก

รู้ตัว  เช่น  สอดแทนไว้ในบทสนทนาของตัวละคร

๑.     การวางโครงเรื่องของนิทาน  ควรเริ่มจากภาวะที่เป็นปรกติก่อน  แล้วเกิดปัญหาหรือ

อุปสรรคมีการแก้ปัญหา  และจบลงด้วยความสุข  หรือฝ่ายธรรมะชนะอธรรม

๒.   ดำเนินเรื่องรวดเร็วตรงไปตรงมา  ไม่ชักช้ายืดยาด  โดยตอบคำถามได้ทันทีว่า  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  และผลเป็นอย่างไร

๓.    ใช้ภาษาง่าย ๆ  ประโยคไม่ซับซ้อน  อ่านเข้าใจได้ทันทีไม่ต้องแปล

มีบทบรรยายดำเนินเรื่อง  และบทสนทนาโต้ตอบของตัวละครสั้น ๆ  อาจมีการสมมุติให้คน  สัตว์สิ่งของพูดจากันได้  และในแต่ละย่อหน้าควรเป็นย่อหน้าสั้น ๆ  อย่างไม่ยาวเกินไป  เพราะจะทำให้ผู้อ่านเกิดความเบื่อหน่ายได้

Veradet.com
Logo
กระท้อนลอยแก้ว| ชุดชั้นกุลสตรี| ชุดชั้นในวาโก้
Shopping cart