การเขียนคำขวัญ ความหมายของ “คำขวัญ” “คำขวัญ” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ( ๒๕๓๙ : ๑๘๖) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “ ถ้อยคำที่แต่งขึ้นเพื่อเตือนใจหรือให้เป็นสิริมงคล”
จุดมุ่งหมายใน การเขียนคำขวัญ
๑. เพื่อแสดงจุดมุ่งหมาย หรืออุดมคติหรือแนวทางปฏิบัติของกลุ่มบุคคล หรือสถาบันใดๆ เช่น กลุ่มอาชีพต่างๆ พรรคการเมือง มูลนิธิ ชุมนุม ชมรมต่างๆ เป็นต้น กลุ่มบุคคลหรือสถาบันเหล่านี้ จะได้คำขวัญเป็นหลักยึดเหนี่ยว หรือเตือนใจหมู่คณะของตน หรืออาจเพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนทราบถึงจุดมุ่งหมายของกลุ่มตนก็ได้
ตัวอย่าง
กาชาดบรรเทาทุกข์ เพื่อความสุขของปวงประชา ( หน่วยกาชาด )
ตำรวจอยู่ไหน ประชาอุ่นใจทั่วกัน ( ตำรวจ )
ธนาคารกรุงเทพ เพื่อคู่คิด มิตรคู่บ้าน ( ธนาคาร )
โทรทัศน์ ช่อง 7 สี ทีวีเพื่อคุณ ( โทรทัศน์ )
พรรคนำไทย จริงใจพัฒนา ( พรรคการเมือง )
๒. เพื่อเตือนใจให้ตระหนักถึงภัยอันตราย ตระถึงประโยชน์หรือคุณค่า ตระหนักถึงความเป็นจริงและเป็นการเตือนสติเตือนใจในเรื่องหนึ่ง
ตัวอย่างการเขียนคำขวัญ
เมื่อสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ชีวิตจะมีภัย
เมื่อป่าไม้ถูกทำลาย ความอดก็มาเยือน
ขับรถให้เตือนตน ข้ามถนนให้เตือนตา
ชาติอยู่รอด ถ้าปลอดคอร์รัปชัน
รักษาชีวิต ดีกว่าพิชิตเวลา
เมื่อใช้ยาเสพติด ชีวิตรอความตาย
ยาบ้าอันตราย คนเสพถึงตายคนขายติดคุก
ตัดไม้ทำลายป่า น้ำท่วมจะขาดแคลน
๓. เพื่อเรียกร้อง เชิญชวน จูงใจให้เชื่อมั่ นหรือปฏิบัติในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ตัวอย่าง
บริจาค ได้มหากุศล
ไทยช่วยไทย คนละบาท ชาติอยู่ได้
ยั้งคิดก่อนซื้อ ยั้งมอก่อนสั่ง ของนอกยับยัง ใช้แต่ของไทย
รักไทย นิยมไทย ร่วมกันใช้ของไทยทำ
ภูมิใจไทยทำ ดีใจไทยใช้
มุ่งประหยัด เร่งรัดนิยมไทย ร่วมใจส่งออก
อ่านหนังวันละหน้า เพิ่มคุณค่าแก่ชีวิต
ออกกำลังกายทุกวัน สร้างสรรค์บุคลิก
สุขภาพเป็นนิจ สุขจิตพาเพลิน หมั่นเดินหมั่นวิ่ง
น้ำมันมีน้อย ใช้สอยอย่างประหยัด
ไทยทำ ไทยขาย ไทยใช้ ไทยเจริญ
ถ้ารักประชาธิปไตย ต้องไปเลือกตั้ง
เลือกผู้แทนทั้งที อย่าให้มีคนซื้อ
หลักในการเขียนคำขวัญ
๑. เขียนให้ตรงจุดมุ่งหมายที่ต้องการ นั้นคือ ก่อนที่จะเขียนคำขวัญใดๆ เรา
ต้องพิจารณาถึงจุดหมายให้ดีเสียก่อน ว่าเราเขียนคำขวัญนั้นเพื่ออะไร จะได้เขียนตรงจุดมุ่งหมายที่ต้องการ
๒. ต้องเขียนให้เป็นข้อความสั่นๆ กะทัดรัด มีหลายลักษณะดังนี้
๒.๑. เป็นกลุ่มคำ เช่น ไม่มีป่า ไม่มีฝน ไม่มีคน ไม่มีสัตว์
๒.๒. เป็นประโยคเพียงประโยคเดียว เช่น น้ำมันมีน้อย ใช้สอย
จงประหยัด
๒.๓. เป็นประโยคสองประโยคทีมีความสัมพันธ์กัน หรือเป็นเหตุ
เป็นผลกัน เช่น เมื่อป่าไม้ถูกทำลายความตายจะมาเยือน
๓. ต้องเขียนให้มีใจความสมบูรณ์ แจ่มแจ้ง ไม่คุลมเครือ เมื่อผู้อ่านอ่านแล้ว
สามารถเข้าใจได้ทันที เช่น ยั้งคิดก่อนซื้อ ยั้งคิดก่อนสั่ง ของยอกยับยั้ง ใช้แต่ของไทย
๔. ควรเขียนให้มีช่วงจังหวะเหมาะสม และมีสัมผัสคล้องจองกันระหว่างช่วง
จังหวะ หรือระหว่างประโยคเพื่อให้ผู้อ่านประทับใจ และสามารถจำคำขวัญนั้นได้ง่าย
ช่วงจังหวะ หมายถึง ช่วงที่ ๑ เว้นระยะในการอ่าน เพราะเวลาอ่านจริงๆ คนเรามักจะอ่านไม่ต่อกันเป็นพืดไป เช่น รักไทย นิยมไทย ร่วมกันใช้ของไทยทำ ช่วงจังหวะในการอ่านอยู่ที่ รักไทย/นิยมไทย/ช่วยกันใช้/ของไทยทำ
ฉะนั้นการเว้นช่วงจังหวะที่เหมาะสม จงช่วยให้ผู้อ่านอ่านได้คล่องปาก ไม่ขัดหู และจดจำได้ง่ายส่วนสัมผัสนั้นในการเขียนคำขวัญจะต้องมีเสมอ อาจใช้ทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษรก็ได้ เพื่อความไพเราะสละสลวย และง่ายในการจดจำ- ของให้นักเรียนสังเกตสัมผัสจากตัวอย่างต่อไปนี้