กาพย์ยานี 11 ธรรมชาติ สุนทรภู่ ตัวอย่าง

กาพย์ยานี  11 คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีการกำหนดคณะและสัมผัส บทหนึ่งมี  ๒  บาท  บาทละ  ๑๑  คำ  บาทหนึ่งแบ่งเป็น  ๒  วรรค   วรรคหน้า  ๕  คำ  วรรคหลัง  ๖  คำ  บทหนึ่งจึงมี  ๔  วรรค  บังคับสัมผัสระหว่างวรรค(สัมผัสนอก)เฉพาะระหว่างวรรคที่  ๑  กับวรรคที่  ๒  และวรรคที่  ๒  กับวรรคที่  ๓  ดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคที่  ๑  สัมผัสกับคำที่  ๓  ของวรรคที่  ๒  คำสุดท้ายของวรรคที่  ๒  จะสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่  ๓  ระหว่างวรรคที่  ๓  กับวรรคที่  ๔  ไม่บังคับสัมผัส  แต่ถ้าคำสุดท้ายของวรรคที่  ๓  ส่งไปสัมผัสระหว่างบท  จะส่งจากท้ายบาทที่  ๒  ของบทต้น  ไปรับสัมผัสที่ท้ายบาทแรกในบทถัดไป
กาพย์ยานีแต่ละวรรคนิยมอ่านแยกเป็น  ๒  ช่วง  ช่วงละ  ๒  หรือ  ๓  คำ  วรรคที่  ๑  และ  ๓    ช่วงแรก ๒ คำ  ช่วงหลัง  ๓  คำ  ส่วนวรรคที่  ๒  และ  ๔  แบ่งช่วงละ  ๓  คำทั้งสองช่วง

ตัวอย่าง กาพย์ยานี  11

ลิงค่าง/ครางโคกครอก            ฝูงจิง้จอก/ออกเห่าหอน
ชะนี/วิเวกวอน                           นกหกร่อน/นอนรังเรียง
ลูกนก/ยกปีกป้อง                     อ้าปากร้อง/ซ้องแซ่เสียง
แม่นก/ปกปีกเคียง                    เลี้ยงลูกอ่อน/ป้อนอาหาร
กาพย์พระไชยสุริยา ของสุนทรภู่

กาพย์ คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีกำหนดคณะ พยางค์ และสัมผัส มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ แต่ไม่นิยม ครุ ลหุ เหมือนกับฉันท์

กาพย์ แปลตามรูปศัพท์ว่า เหล่ากอแห่งกวี หรือ ประกอบด้วย คุณแห่งกวี หรือ คำที่กวี ได้ร้อยกรองไว้

กาพย์มาจากคำว่า กาวฺย หรือ กาพฺย และคำ กาวฺย หรือ กาพฺย มาจากคำ กวี กวีออกมาจากคำเดิม ในภาษาบาลี และสันสกฤต กวิ แปลว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีปัญญาเปรื่องปราด ผู้ประพันธ์กาพย์กลอน และแปลอย่างอื่น ได้อีก
คำ กวิ หรือ กวี มาจากรากศัพท์เดิม คือ กุธาตุ แปลว่า เสียง ว่าทำให้เกิดเสียง ว่าร้อง ว่าร้องระงม ว่าคราง ว่าร้องเหมือนเสียงนก หรือเสียงแมลงผึ้ง

กาพย์ ตามความหมายเดิม มีความหมายกว้างกว่าที่เข้าใจกัน ในภาษาไทย คือ บรรดาบทนิพนธ์ ที่กวีได้ ร้อยกรองขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ ร่าย นับว่าเป็นกาพย์ ทั้งนั้น แต่ไทยเรา หมายความ แคบ หรือหมายความถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ของกวีเท่านั้น

กาพย์มีลักษณะผิดกับกลอนธรรมดา คือ

๑. วางคณะ พยางค์ และสัมผัสคล้ายกับฉันท์

๒. ใช้แต่งปนกับฉันท์ได้ และคงเรียกว่า “คำฉันท์” เหมือนกัน

กาพย์ คือคำประพันธ์ชนิดหนึ่งซึ่งมีกำหนดคณะ พยางค์ และสัมผัส มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ แต่ไม่นิยม ครุ ลหุ เหมือนกับฉันท์

กาพย์ แปลตามรูปศัพท์ว่า เหล่ากอแห่งกวี หรือ ประกอบด้วย คุณแห่งกวี หรือ คำที่กวี ได้ร้อยกรองไว้
กาพย์มาจากคำว่า กาวฺย หรือ กาพฺย และคำ กาวฺย หรือ กาพฺย มาจากคำ กวี กวีออกมาจากคำเดิม ในภาษาบาลี และสันสกฤต กวิ แปลว่า ผู้คงแก่เรียน ผู้เฉลียวฉลาด ผู้มีปัญญาเปรื่องปราด ผู้ประพันธ์กาพย์กลอน และแปลอย่างอื่น ได้อีก
คำ กวิ หรือ กวี มาจากรากศัพท์เดิม คือ กุธาตุ แปลว่า เสียง ว่าทำให้เกิดเสียง ว่าร้อง ว่าร้องระงม ว่าคราง ว่าร้องเหมือนเสียงนก หรือเสียงแมลงผึ้ง

กาพย์ ตามความหมายเดิม มีความหมายกว้างกว่าที่เข้าใจกัน ในภาษาไทย คือ บรรดาบทนิพนธ์ ที่กวีได้ ร้อยกรองขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ หรือ ร่าย นับว่าเป็นกาพย์ ทั้งนั้น แต่ไทยเรา หมายความ แคบ หรือหมายความถึง คำประพันธ์ชนิดหนึ่ง ของกวีเท่านั้น

 

กาพย์มีลักษณะผิดกับกลอนธรรมดา คือ

๑. วางคณะ พยางค์ และสัมผัสคล้ายกับฉันท์

๒. ใช้แต่งปนกับฉันท์ได้ และคงเรียกว่า “คำฉันท์” เหมือนกัน

กาพย์ ที่นิยมใช้อยู่ในภาษาไทย มี ๕ ชนิด คือ

๑.   กาพย์ยานี

๒.  กาพย์ฉบัง

๓.  กาพย์สุรางคนางค์

๔.  กาพย์ห่อโคลง

๕.  กาพย์ขับไม้ห่อโคลง

กาพย์ ๓ ชนิดข้างต้น ใช้เทียบเคียง แต่งปนไปกับฉันท์ได้ และเพราะเหตุที่ มีลักษณะคล้ายกับฉันท์ และแต่งปนไปกับฉันท์ได้ จึงเรียกว่า คำฉันท์ด้วย

 

 

Veradet.com
Logo
กระท้อนลอยแก้ว| ชุดชั้นกุลสตรี| ชุดชั้นในวาโก้
Shopping cart