หลักการพูดทั่วไป

ความหมายของ “การพูด”

การพูดคือ กระบวนการสื่อสารความคิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดยมีภาษา น้ำเสียง และอากัปกิริยา เป็นสื่อ

องค์ประกอบของการพูด

การพูดประกอบด้วยส่วนสำคัญ ๓ ส่วน ได้แก่
– ผู้พูด
– เนื้อหาสาระ
– ผู้ฟัง
การเตรียมเรื่อง
– เขียนทุกคำที่ต้องการจะพูด โดยเริ่มตั้งแต่คำกล่าวปฏิสันถาร การเกริ่นนำ เนื้อหา สาระ และการทิ้งด้วย
– เขียนเป็นภาษาพูดด้วยสำนวนของตนเอง
การฝึกพูด
– อ่านต้นฉบับที่เตรียมร่างไว้หลาย ๆ เที่ยว
– ทดลองฝึกพูดโดยดูจากต้นฉบับที่เตรียมไว้
– ทดลองฝึกพูดโดยไม่ต้องพูดจากต้นฉบับที่เตรียมไว้
วิธีแก้ความประหม่าขณะที่พูด ให้ทำได้ดังนี้
– สูดลมหายใจเข้าลึก ๆ
– ดื่มน้ำสักแก้ว
– เคลื่อนไหวไปมา
– จงบอกกับตนเองว่าฉันสู้ตาย
– พูดเสียงดังไปเลย
การปรากฏตัว
– เดินสู่แท่นที่พูดด้วยความกระฉับกระเฉง
– ปรับไมโครโฟนให้ตรงปาก ทดลองใช้ไมโครโฟนอย่างสุภาพ คือ ให้ใช้ปลายเล็บ นิ้วชี้ขูดเบา ๆ ส่วนหัวของไมโครโฟน แล้วค่อยฟังเสียงดู หรือเป่า และไม่ควรพูด ว่า “โหล ๆ” โดยเด็ดขาด
– สร้างสัมพันธภาพกับผู้ฟังทางใบหน้าด้วยการ “ยิ้ม” (ประมาณ ๓ วินาที)
– กล่าวคำปฏิสันถาร (กราบเรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ และสวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน)
การยืนขณะพูด
– ยืนให้เท้าทั้งสองห่างกันพอสมควร น้ำหนักตัวอยู่บนฝ่าเท้าทั้งสองข้าง
– มือทั้งสองข้างจับที่ขอบแท่นที่พูด หรือปล่อยลงข้างลำตัว
การเคลื่อนไหวประการพูด (ศีรษะ – หน้า – มือ)
๑ ประโยชน์ของการเคลื่อนไหว
– ช่วยลดความประหม่า คลายความเครียด
– ช่วยทำให้ผู้ฟังสนใจ และตั้งใจฟังมากขึ้น
– ช่วยสื่อความหมาย
– ช่วยเสริมสร้างบุคลิกของผู้พูด
๒ วิธีการเคลื่อนไหว
– เคลื่อนไหวทุกครั้งต้องสื่อความหมาย
– เคลื่อนไหวให้สอดคล้องกับเรื่องที่พูด
๓ การเคลื่อนไหวมือ สามารถสื่อในสิ่งต่อไปนี้
– บอกจำนวน
– บอกขนาด
– บอกรูปร่าง
– บอกทิศทาง
การใช้สายตา (การสบสายตา) กับผู้ฟังขณะพูด
๑ ประโยชน์ในการสบสายตากับผู้ฟัง
– ช่วยถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูด
– ช่วยทำให้ผู้ฟังสนใจการฟังมากขึ้น
๒ วิธีการสบสายตากับผู้ฟัง
– มองอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่เลิ่กลั่ก
– ถ้าผู้ฟังมีน้อยให้สบสายตากับผู้ฟังทีละคนอย่างทั่วถึง
– ถ้าผู้ฟังมีมากให้มองผู้ฟังเป็นกลุ่ม ๆ โดยสบสายตาไปทีละจุด ๆ ให้ทั่วถึง (อย่ามองแบบพัดลมส่าย)
– ไม่มองที่จุดใดจุดหนึ่ง หรือมองที่ด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ
– ไม่แหงนมองเพดาน มองพื้น หรือมองออกไปนอกห้อง
การใช้น้ำเสียงในการพูด
๑ ประโยชน์ของการใช้น้ำเสียง
– ช่วยถ่ายทอดอารมณ์ และความรู้สึกของผู้พูด
– ช่วยเร้าความสนใจผู้ฟังให้อยากฟังมากขึ้น
– ช่วยให้ผู้ฟังเห็นภาพ หรือคล้อยตาม
– ช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจเรื่องได้ง่าย หรือเข้าใจเรื่องได้ดียิ่งขึ้น
๒ หลักการใช้น้ำเสียง
– พูดให้เสียงดังฟังชัด
– จังหวะลีลาในการพูดไม่ช้า หรือเร็วเกินไป
– ไม่พูดน้ำเสียงเหมือนอ่านหนังสือ หรือท่องจำ
– น้ำเสียงสอดคล้องกับเรื่อง หรือเนื้อหาที่พูด
– ไม่พูดดัดเสียงเลียนแบบคนอื่น ให้ใช้น้ำเสียงของตน
การออกเสียงคำในการพูด
– การออกเสียงคำให้ออกเสียงตามหลักการออกเสียงตามพจนานุกรม ฉบับ ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ฉบับปรับปรุงล่าสุด)
– ออกเสียง ร ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้องชัดเจน
– ออกเสียงตัว ช ท ส ให้ถูกต้อง (อย่าออกเป็นสำเนียงภาษาอังกฤษ) การออกเสียงคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษให้ออกเสียงตามรูปที่ถอดออกมาเป็นภาษาไทย และควรออกเสียงแบบไทย เช่น เทนนิส ออกเสียงว่า เทน – นิด, ปารีส ออกเสียงว่า ปา – รีด, ลอนดอน ออกเสียงว่า ลอน – ดอน
การใช้ภาษาในการพูด
– ใช้ภาษาพูดง่าย ๆ
– ใช้ลักษณะนาม ราชาศัพท์ให้ถูกต้อง
– ไม่ใช้คำหยาบ
– ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศโดยไม่จำเป็น (ถ้ามีคำไทยแทนได้ให้ใช้คำไทย)
การจบการพูด
– จบตามเวลาที่กำหนดให้
– การจบการพูดต้องมีการทิ้งท้าย ด้วยการให้ข้อคิดแก่ผู้ฟังเสมอ เพื่อเป็นการ สร้าง ความประทับใจแก่ผู้ฟัง ซึ่งอาจใช้คำประพันธ์ หรือคำคมก็ได้

Veradet.com
Logo
Shopping cart