
พยางค์ในภาษาไทยหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การประสมเสียงในภาษาไทย เพราะเกิดจากการเปล่งเสียงถึง ๓ เสียง ตามกันอย่างกระชั้นชิด จนฟังคล้ายเปล่งออกมาในครั้งเดียวกัน พยางค์จะต้องประกอบด้วยหน่วยเสียงอย่างน้อย ๓ หน่วย แต่บางพยางค์อาจมีเสียงพยัญชนะท้ายด้วยก็ได้ เช่น
ล่า พยัญชนะต้น ล
สระ า
วรรณยุกต์ รูปเอก เสียงโท
ลาด พยัญชนะต้น ล
สระ า
วรรณยุกต์ รูปสามัญ เสียงโท
พยัญชนะท้าย ด
พยัญชนะท้ายพยางค์หรือตัวสะกดในภาษาไทย มี ๙ มาตรา แต่มีเสียงตัวสะกด ๘ เสียง คือ
๑. แม่ ก กา คือพยางค์ที่ประกอบไปด้วยหน่วยเสียง ๓ เสียง ไม่มีพยัญชนะท้ายพยางค์ เช่น กา มา เสือ ไป
๒. แม่ กง คือ พยางค์ที่มีเสียง ง เป็นตัวสะกด เช่น นาง เก่ง เต็ง บอง กง
๓. แม่ กน คือ พยางค์ที่มีเสียง น เป็นตัวสะกด เช่น ฟัน นอน ดอน โหน ดัน
๔. แม่ กม คือ พยางค์ที่มีเสียง ม เป็นตัวสะกด เช่น กลม อม ถาม แกม ผม
๕. แม่ เกย คือ พยางค์ที่มีเสียง ย เป็นตัวสะกด เช่น เอย นาย ข้อย เจื้อย กลอย
๖. แม่ เกอว คือ พยางค์ที่มีเสียง ว เป็นตัวสะกด เช่น เอว มะนาว ขาว สาว กาว
๗. แม่ กก คือ พยางค์ที่มีเสียง ก เป็นตัวสะกด เช่น เอก นาก ปลอก เจียก กลอก
๘. แม่ กด คือ พยางค์ที่มีเสียง ด เป็นตัวสะกด เช่น เอ็ด นาด ขอด เสียด เกลียด
แม่ กบ คือ พยางค์ที่มีเสียง บ เป็นตัวสะกด เช่น อาบ หนีบ ตีบ ปรับ โอบ