ความหมายขอคำว่า “การอภิปราย”
คำว่า “อภิปราย” พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ (๒๕๔๖, หน้า ๑๓๓๒) ได้ให้ความหมายไว้ว่า “อภิปราย ก. พูดชี้แจงแสดงความคิดเห็น” ส่วนอาจารย์ ผอบ โปษะกฤษณะ (อ้างใน ฉัตรวรุณ ตันนะรัตน์, หน้า ๔๖๑) ได้ให้ความหมายของการอภิปรายไว้ว่า “คือการที่บุคคลลุ่มหนึ่งมีเจตนาจะพิจารณา เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ปรึกษาหารือกันออกความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหาที่มีอยู่ หรือเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความเห็น ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับให้ได้ทราบ ในที่สุดก็มีการตัดสินตกลงใจ”
จุดประสงค์ของการอภิปราย
การอภิปรายมีจุดประสงค์ดังนี้
– เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกัน และกันอย่างมีเหตุผล แล้วรวบรวม ความรู้ความคิดเห็นเป็นข้อสรุปนำไปปฏิบัติหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ
– เพื่อเป็นการฝึกให้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยใช้หลักความคิดแบบ ประชาธิปไตย
องค์ประกอบของการอภิปรายกลุ่ม
องค์ประกอบที่สำคัญของการอภิปรายกลุ่มมีดังนี้
– ประธานกลุ่ม
– สมาชิกในกลุ่ม
– เลขานุการกลุ่ม
– เรื่องที่จะอภิปราย
– สถานที่จัดอภิปราย
หน้าที่ของประธานกลุ่ม สมาชิกในกลุ่ม และเลขานุการกลุ่ม
๑ ประธานกลุ่ม มีหน้าที่ดังนี้
– ชี้ให้สมาชิกในกลุ่มได้พูดแดสงความคิดเห็น
– ควบคุมสมาชิกให้พูดให้ตรงประเด็น
– ควบคุมเวลาในการพูดของสมาชิก
– สรุปสาระในการพูดของสมาชิกแต่ละคนพร้อมสรุปสาระทั้งหมดของกลุ่ม เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมทั้งหมดต่อไป
๒ สมาชิกในกลุ่ม มีหน้าที่ดังนี้
– เตรียมความรู้ที่จะนำมาพูดอภิปราย
– พูดเมื่อประธานอนุญาตให้พูด
๓ เลขานุการกลุ่ม มีหน้าที่ดังนี้
– เตรียมจัดสถานที่จะใช้ดำเนินการอภิปราย
-. จดบันทึกสาระในการอภิปรายของสมาชิก และสรุปผลการอภิปรายของกลุ่ม
ขั้นตอนในการจัดการอภิปรายกลุ่ม
ในการจัดการอภิปรายกลุ่มนั้น มีขั้นตอนในการปฏิบัติดังนี้
– ประธานกลุ่มเกริ่นนำถึงหัวข้อที่จะอภิปราย พร้อมกำหนดขอบเขตในการพูดแสดงความคิดเห็น
– ชี้ให้สมาชิกในกลุ่มพูดแสดงความคิดเห็น
– ประธานสรุปสาระที่สมาชิกแต่ละคนพูด
– สรุปสาระทั้งหมดที่ได้จากการอภิปรายของสมาชิกในกลุ่ม
– กล่าวปิดการอภิปรายของกลุ่ม