การจดบันทึก

ความหมายของคำว่า  “จดบันทึก”

“จด”   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.  ๒๕๔๒  (๒๕๔๖,  หน้า  ๒๘๕)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  หมายถึง  “เขียนไว้”

ส่วนคำว่า   “บันทึก”   พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ.  ๒๕๔๒  (๒๕๔๖,  หน้า  ๖๑๗)  ได้ให้ความหมายไว้ว่า  หมายถึง  “จดข้อความเพื่อช่วยความทรงจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน”

ฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า  “การจดบันทึก”  คือ  “การเขียนจดข้อความไว้เพื่อช่วยความทรงจำหรือเพื่อเป็นหลักฐาน”

ประโยชน์ของการจดบันทึก

การจดบันทึกนับว่าเป็นหัวข้อหนึ่งของหัวใจนักปราชญ์  ได้แก่  คำว่า  ลิ.  ซึ่งย่อมาจากคำว่า “ลิขิต”  แปลว่า  “เขียน”

ในการอ่านสิ่งใดก็ตาม  เมื่ออ่านไปแล้วสมองของเราจะจำได้ชั่วระยะหนึ่ง  ต่อไปก็อาจจะลืมได้  เพราะในชีวิตของคนเรามีเรื่องที่เราต้องจดจำมากมาย  ฉะนั้นเพื่อไม่ให้ลืมหรือเป็นการช่วยความจำเราจึงควรต้องจดบันทึกไว้  ทั้งยังถือเป็นหลักฐานที่สามารถนำไปอ้างอิงได้อีกด้วยรูปแบบในการจดบันทึก

ในการจดบันทึกลงในบัตรบันทึก  ซึ่งมีหลายขนาด     คือ     ขนาด     ๓ X  ๕    นิ้ว  ขนาด  ๔  X  ๖  นิ้ว  และขนาด  ๕  X   ๗  นิ้ว  บัตรนี้จะใช้กระดาษสมุดชนิดหนามาตัดเอาก็ได้  บัตรหนึ่งใบใช้จดหนึ่งเรื่อง  ถ้าไม่พอให้ต่อแผ่นต่อไป

ในการจดบันทึกส่วนใหญ่มักใช้วิธีคัดลอกข้อความเพื่อสะดวกรวดเร็ว  ข้อความใดที่เราไม่ต้องการจดบันทึกให้ใช้จุดไข่ปลา   ๓   จุด  …  แสดงการเว้นข้อความไว้

การจดบันทึกนั้นบรรทัดแรกสุดจะเป็นหัวข้อซึ่งผู้จดบันทึกต้องตั้งเอง  เพื่อสะดวกในการนำมาใช้ในโอกาสต่อไป  ส่วนบรรทัดถัดไปจะเป็นที่มาของเรื่องที่จดบันทึก  โดยจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของที่มา  และให้ยึดรูปแบบของการเขียนบรรณนุกรม  เพื่อสะดวกในการนำไปอ้างอิง  เช่น

ตัวอย่าง  การจดบันทึกความรู้จากการอ่าน

พจนานุกรม

 

ตัวอย่างสำนวนไทย

ราชบัณฑิตยสถาน.  (๒๕๔๒). พจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พ.ศ. ๒๕๔๒.  กรุงเทพฯ : นาน   มีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ (สำ ว.  ลักษณะการทำงานที่มีความลังเลใจ  ทำให้แก้ไขปัญหาได้ ไม่ทันท่วงที่  เมื่อได้อย่างหนึ่งไป ดุจเอางามาคั่วพร้อมกัน  กว่าจะคั่วสุกงาก็ไหม้หมดไปก่อน

 

 

Veradet.com
Logo
Shopping cart