
การเล่าเรื่องที่อ่าน
การอ่านเป็นวิธีการแสวงหาความรู้ได้ดีวิธีหนึ่ง แต่ในชีวิตของคนเราในปัจจุบันมีเรื่องให้อ่านอยู่มากมาย ยากที่จะอ่านได้ทุกเรื่อง ฉะนั้นการเล่าเรื่องที่อ่าน ให้คนอื่นฟังจึงเป็นประโยชน์ต่อชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน
การเตรียมเรื่องที่อ่าน
- บอกความสำคัญหรือจุดมุ่งหมายในการเล่าเป็นการนำเรื่อง
- บอกที่มาของหนังสือ ได้แก่ผู้แต่ง ประเภทของหนังสือ ( สารคด บทความ นวนิยาย ตำรา บทละคร เกร็ดความรู้ ขำขัน เป็นต้น)
- เล่าเรื่องย่อของหนังสือพอสังเขป (เลือกเฉพาะจุดที่น่าสนใจและประทับใจ)
- จบตามเวลาที่กำหนด พร้อมสรุปทิ้งท้ายเพื่อสรุปข้อคิดเห็นแก่ผู้ฟัง
ข้อพึงปฏิบัติใน การพูดเล่าเรื่อง
มารยาทในการพูด
ผู้พูดที่ดีควรมีมารยาทในการพูด เพราะผู้พูดต้องปรากฏกายต่อหน้าผู้ฟังตลอดระยะเวลาของการพูด ผู้ฟังจะได้ยินทั้งเสียงและบุคลิกลักษณะกิริยาท่าทางของผู้พูด ช่วงระยะเวลาที่พูดเป็นช่วงที่ผู้พูดต้องรักษามารยาทมากที่สุด มารยาทที่ดีของผู้พูดมีดังนี้
- คิดให้รอบคอบก่อนพูด เพราะคำพูดเพียงคำสองคำฆ่าคนมามากต่อมากแล้ว
- ไม่พูดให้ร้ายใคร ไม่พูดด้วยความอิจฉาริษยาหรือพูดให้โทษผู้อื่น
- ควบคุมอารมณ์ให้ได้ ไม่พูดในขณะที่โกรธหรือไม่พอใจ
- ไม่ใช้วาจาเสียดแทงใจคนฟัง แม้เป็นการล้อเล่นก็ไม่ควรทำเพราะจำทำให้คนฟังไม่สบายใจ
- ไม่พูดก้าวร้าวหรือขัดคอแม้ความเห็นจะไม่ตรงกัน
- ใช้ถ้อยคำเหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะ
- ไม่อวดตนอวดภูมิหรือพูดข่มเหงผู้อื่น
- พูดให้จบในเวลาที่กำหนด เปิดโอกาสให้คนอื่นพูดบ้าง
- ใจกว้างยอมรับฟังความคิดเห็นและคำวิจารณ์ของผู้อื่น ไม่หลงตนเอง
- พูดแต่สิ่งที่ผู้ฟังสนใจ
อย่าพูดเรื่องส่วนตัวถ้าไม่มีผู้ถามถึง