คำซ้อน คืออะไร มารู้จักกับคำซ้อนกันดีกว่า

คำซ้อน คืออะไร

คำซ้อน คือ คำที่มีความหมายเหมือนกันหรือตรงข้ามมาเรียงต่อกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป ทำให้ความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น สำหรับตัวอย่างสามารถดูจากรายละเอียดด้านล่าง

ตัวอย่าง คำซ้อน

“ท่าทางที่เพ่งพินิจดูขนมหลากหลายชนิด  ช่างเต็มไปด้วยความสุขและความพอใจอย่างเหลือล้น”

คำ ว่า  ท่าทาง  ประกอบด้วยคำว่า  ท่า  แปลว่า  ลักษณะมือ  เท้า  คอ  ศีรษะ  และร่างกายที่เคลื่อนไหวหรืออยู่นิ่ง ๆ  กับคำว่า  ทาง  แปลว่า  แนว  ลักษณะที่กำหนดหรือวางไว้เป็นแบบ

คำว่า  หลากหลาย  ประกอบด้วยคำว่า  หลาย  แปลว่า  มาก  กับคำว่า  หลาก  แปลว่า  ต่าง ๆ  กันหลายอย่าง

คำว่า  เหลือล้น  ประกอบด้วยคำว่า  เหลือ  แปลว่า  มาก  เกิน  มากเกินต้องการ  กับคำว่า  ล้น  แปลว่า  มากจนไหลออก

คำว่า  ท่าทาง  หลากหลายและเหลือล้น  เรียกว่า  คำซ้อน  คำที่นำมาเข้าคู่กันเป็นคำซ้อนอาจเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกัน  คล้ายกันหรือตรงข้ามกันก็ได้  เช่น  รอคอย  แท้จริง  เร็วไว  ใหญ่โต  ดูแล  นุ่มนิ่ม  นัยน์ตา  สูญหาย  เลือกสรร  เป็นคำซ้อนที่เกิดจากคำที่มีความหมายเหมือนกัน

เล็กน้อย  ใจคอ  แข้งขา  ปากคอ  ฝนฟ้า  ไร่นา  กุ้งหอยปูปลา  ทุกข์โศกโรคภัย  เย็บปักถักร้อย  ถ้วยโถโอชา  จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน  เป็นคำซ้อนที่เกิดจากคำซึ่งมีความหมายคล้ายกันหรืออยู่ในประเภทเดียวกัน

เท็จ จริง  ถูกแพง  ใกล้ไกล  ทุกข์สุข  ผิดถูก  ชั่วดี  เหตุผล  สูงต่ำดำขาว  ตัดเป็นตัดตาย  ตื้นลึกหนาบาง  เป็นคำซ้อนที่เกิดจากคำซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกัน

ความหมายของคำซ้อนบางคำเหมือนกับคำที่อยู่ส่วนหน้าของคำซ้อนและบางคำเหมือนกับคำที่อยู่ส่วนหลังของคำซ้อน  ดังนี้

คำซ้อนต่อไปนี้มีความหมายเหมือนคำที่อยู่ส่วนหน้า  คำที่อยู่ส่วนหลังเป็นเสมือนคำสร้อย  เช่น  ใจคอ  เขตแดน  ประเทศชาติ  ท้องไส้  หัวหู  คำซ้อนกับคำที่ไม่ได้ซ้อนมีความหมายเหมือนกัน  จึงอาจใช้แทนกันได้  เช่น  ท่า (๑)  แปลว่า  ลักษณะมือ  เท้า  คอ  ศีรษะและร่างกายที่เคลื่อนไหวหรืออยู่นิ่ง ๆ  ท่า (๒)  แปลว่า  รอคอย  ท่า (๓)  แปลว่า  ฝั่งน้ำที่จอดพาหนะ  หากใช้คำว่า  ท่า  ตามลำพัง  ผู้ฟังอาจเข้าใจไขว้เขวได้ง่ายว่าผู้พูดต้องการพูดถึง  ท่า (๑)  ท่า (๒) หรือ ท่า (๓)

คำซ้อนต่อไปนี้มีความหมายเหมือนคำที่อยู่ส่วนหลัง  คำ ที่อยู่ส่วนหน้าซ้อนเพื่อเสริมความหมาย  เช่น  แข้งขา  ขบขัน  บาดแผล  น้ำหูน้ำตา  เท็จจริง  บ้านเมือง  มูลฐาน  คำซ้อนกับคำที่ไม่ได้ซ้อนมีความหมายเหมือนกัน  เช่น

ปีนขึ้นไปอย่างนั้นเดี๋ยวตกลงมาขาหัก

ปีนขึ้นไปอย่างนั้นเดี๋ยวตกลงมาแข้งขาหัก

สองประโยคนี้มีความหมายเท่ากัน

คำซ้อนบาง คำมีความหมายเฉพาะแตกต่างไปจากเดิม  คำซ้อนเหล่านี้มีความหมายไม่เหมือนกับคำที่นำมาซ้อนกัน  คำซ้อนกับคำที่ไม่ได้ซ้อนจึงใช้แทนกันไม่ได้  เช่น

เมื่อน้ำลดจะเห็นตลิ่งสูงมาก  ใช้คำซ้อน  ลดราวาศอก  แทนลดไม่ได้

เขาเถียงกันชนิดไม่มีใครลดราวาศอกให้กันเลย  ใช้  ลด  แทนคำซ้อน  ลดราวาศอกไม่ได้

Veradet.com
Logo
Shopping cart