เครื่องหมายวรรคตอน เป็นเครื่องหมายที่ใช้ในการเขียนประกอบตัวอักษร ตัวเลข คำ วลี ประโยค หรือข้อความ เพื่อสื่อความหมายกับผู้อ่านว่าผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านนั้น อ่านข้อความนั้นอย่างไร
วรรค คือ การเว้นระยะระหว่างคำ ข้อความและประโยค เพื่อชี้ให้เห็นชัดว่าต่างคำ ต่างข้อความ และต่างประโยคกัน แต่ก็ยังมีความเกี่ยวเนื่องกันภายในย่อหน้าเดียวกัน
ย่อหน้าหรือ มหรรถสัญญา คือการย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ เมื่อจบใจความสำคัญหนึ่ง ๆ ย่อหน้าอาจใช้กับคำ ข้อความ หรือประโยค โดยเฉพาะในกรณีที่เป็นหัวข้อที่ต้องการแสดงให้เห็นชัด ย่อหน้ามีความจำเป็นสำหรับการเขียนทั่วไป เมื่อจบใจความสำคัญหนึ่ง ๆ จะต้องย่อหน้าใหม่ทุกครั้ง เพราะจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้น
จุดลูกน้ำ หรือ จุลภาค , ใช้คั่นคำ ข้อความ หรือจำนวนเลข ให้แยกจากกันเพื่อความเด่นชัด แต่อย่างไรก็ดี การใช้จุดลูกน้ำสำหรับแยกคำและข้อความยังไม่นิยมกัน ส่วนมากมักใช้การเว้นวรรคแทน ในหมู่สัตว์เล็ก ๆ เช่น ผึ้ง, ต่อ, แตน แต่ลำพังก็ไม่น่ากลัวอะไร 1,000 10,000 100,000
ตัวอย่าง เครื่องหมายวรรคตอน
ไปยาลน้อย ฯ
ใช้ละคำที่ประกอบคำหน้า และรู้จักกันทั่วไป
กรุงเทพ ฯ มาจาก กรุงเทพมหานคร
โปรดเกล้า ฯ มาจาก โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
อุบลฯ มาจาก อุบลราชธานี
อุดร ฯ มาจาก อุดรธานี
ไปยาลใหญ่ ฯลฯ
ใช้ละคำ หรือข้อความส่วนใหญ่
ละตอนท้าย อ่าน ละ และอื่น ๆ เช่น ในน้ำมีปลาช่อน ปลาดุก ปลาหมอ ฯลฯ
ละตอนกลาง อ่าน ละถึง เช่น พยัญชนะไทยมี 44 ตัว คือ ก ข ฃ ค ง ฯลฯ ฮ
ใช้ละข้อความที่ไม่ต้องการให้อ่าน เช่น เขาด่าฉันอย่างหยาบคายว่า ไอ้…….
ไม้ยมก ๆ
ไม้ยมก ๆ ใช้เขียนแทนคำซ้ำหรือความซ้ำ
ก. จะต้องเป็นคำชนิดเดียวกัน หรือทำหน้าที่อย่างเดียวกัน
ข. ถ้าเป็นคำต่างชนิดหรือต่างหน้าที่กัน ใช้ไม้ยมกไม่ได้
ค. คำซ้ำที่เป็นคำมูล คือ เป็นคำเดียวมาแต่เดิม ใช้ไม้ยมกแทนไม่ได้
ง. ไม่นิยมใช้ไม้ยมกในคำประพันธ์
อัญประกาศ “ ”
ใช้คร่อมข้อความที่เป็นคำพูด ข้อความที่ยกมาจากที่อื่น คำที่เป็นชื่อเฉพาะหรือที่ใช้เป็นการเฉพาะของผู้เขียน เช่น
คนขับรถยกมือไหว้แล้วพูดขึ้นว่า “ไม่ต้องหรอกครับพี่แก้ว ผมสมัครเป็นลูกน้องสักคน มีอะไรก็เรียกใช้นะครับ”
วงเล็บ หรือ นขลิขิต ( )
ใช้คร่อมคำหรือข้อความที่ขยายใจความของคำหรือข้อความข้างหน้าเช่น สุนทรโวหาร (ภู่) เมืองพิชัย (ปัจจุบันเป็นอำเภออยู่ในจังหวัดพิจิตร)
เส้นใต้ หรือ สัญประกาศ
ใช้ขีดคำหรือข้อความที่ต้องการเน้นเป็นพิเศษ เช่น พระร่วงในละครเรื่องนี้น่าจะหมายถึง พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ มากกว่าพ่อขุนรามคำแหง
เครื่องหมายคำถาม หรือ ปรัศนี
ใช้ประกอบท้ายคำถาม เช่น บ้านของท่านขายเท่าไร ?
คุณจะไปไหนครับ ?
เครื่องหมาย ตกใจ อัศเจรีย์ !
ใช้ประกอบข้างท้ายคำอุทาน และข้อความคล้ายคำอุทาน ไม่ใช้ประกอบคำอุทานเสริมบท เช่น โอ๊ย ! ใครก็ได้ช่วยที เอ๊ะ ! ใครมาหยิบขนมของฉันไป ว๊าย ! โผล่มาได้ไงเนี่ย โธ่เอ๊ย ! ใคร ๆ เขายิ่งเบื่อเธออยู่ด้วย
เครื่องหมาย เท่ากับ หรือ สมการ, สมพล =
ใช้บอกความเท่ากัน เช่น 1 + 2 = 3
จุด หรือ มหัพภาค .
มีวิธีใช้ดังนี้
ก.ใช้กำกับหัวข้อ เช่น ก. ข. ค. 1.
ข.ใช้กำกับอักษรย่อ เช่น ก.ท. พ.ศ. ม.2
ค.ใช้แสดงทศนิยม เช่น 10.50 26.35
ง.ใช้แสดงการจบประโยค (ไม่นิยมในภาษาไทย)
ละ หรือ บุพสัญญา ”
ใช้ละข้อความข้างบน เช่น
เขามีเงินอยู่ 10 บาท
น้องมีเงินอยู่ 15 ”
ขีด หรือ ยติภังค์ –
ใช้เขียนท้ายพยางค์หน้าของคำ เพื่อแสดงว่าเป็นคำเดียวกับพยางค์หลัง หรือเขียนท้ายคำหน้าเพื่อแสดงว่าเป็นคำเดียวกับคำหลัง เช่น เผยออัตถ์พจน์สุภา- ษิตพร้อง
อัฒภาค ;
ใช้คั่นข้อความที่เสมอกัน หรือเป็นส่วนขยายประโยคอื่นด้วยกัน ไม่นิยมใช้ในภาษาไทย
ขีด –
เป็นเครื่องหมายวรรคตอนที่เกิดขึ้นใหม่ ต่างกับยติภังค์ ใช้ดังนี้
- ใช้หน้าหัวข้อที่ขึ้นบรรทัดใหม่ เช่น
ประโยชน์ของน้ำ
-ดื่ม
-อาบ
- ใช้แทนคำ ถึง หรือ ระหว่าง เช่น 1 – 2 อุบลฯ – สุรินทร์